วันที่ 24 ม.ค. 2561 เวลา 11:21 น.
Views
"หอยแครง" ในอำเภอบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี แหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศ กำลังประสบปัญหา หอยที่เลี้ยงไว้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
จากเดิมหอยแครง มีขนาดใหญ่ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวน 80-100 ตัว แต่ปัจจุบัน หอยแครง 1 กิโลกรัม ต้องเพิ่มจำนวนเป็น 150-180 ตัว กลุ่มเกษตรกรจึงต้องรวมตัวกันหาสาเหตุที่ทำให้หอยแครงในพื้นที่ตายง่ายและขนาดเล็กลง ซึ่งจากการศึกษาวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หอยแครง มีสภาพอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์และตายง่าย เกิดจาก อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เมื่อผนวกรวมกับปัญหาน้ำเน่าเสีย แร่ธาตุอาหารของสัตว์ทะเลลดลง จึงยิ่งทำให้หอยแครงมีขนาดเล็กลงมาก
สอดคล้องกับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลและมหาสมุทร ที่ระบุว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ที่มีอยู่ในก๊าซเรือนกระจก ไม่ได้ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าเท่านั้น เพราะมีถึง 48 เปอร์เซ็นต์ ร่วงลงสู่ทะเลทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นและส่งผลให้น้ำทะเลเป็นกรด
ความร้อนของน้ำทะเลมีผลโดยตรงต่อการเติบโตของสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีเปลือกห่อหุ่มร่างกาย
ผลของภาวะโลกร้อนที่ทำให้แสงแดดสว่างจ้า ได้ส่องลงมาถึงใต้ทะเลทำให้สาหร่ายทะเลเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเกิดการแย่งชิงก๊าซออกซิเจนใต้ทะเลกับสัตว์น้ำ
เมื่อภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเล โดยเฉพาะสัตว์เปลือกแข็งที่ปรับตัวรับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ยาก ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหานาน เกษตรกรที่เลี้ยงหอยแครง จึงต้องปรับตัวด้วยการนำหอยแครงพันธุ์มาเลเซีย ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย และนิยมเลี้ยงในภาคใต้ มาเลี้ยงแทนพันธุ์พื้นถิ่น เพราะปรับตัวได้ง่ายกว่า
Facebook : Ch7greenreport
Tag : Green Report