โดยร่างฉบับที่ 1 มีมติรับ 576 เสียง ไม่รับ 21 เสียง และงดออกเสียง 123 เสียง
ร่างฉบับที่ 2 มีมติรับ 647 เสียง ไม่รับ 17 เสียง และงดออกเสียง 55 เสียง
ร่างฉบับที่ 3 มีมติรับ 213 เสียง ไม่รับ 35 เสียง และงดออกเสียง 472 เสียง
ร่างฉบับที่ 4 มีมติรับ 268 เสียง ไม่รับ 20 เสียง และงดออกเสียง 432 เสียง
ร่างฉบับที่ 5 มีมติรับ 209 เสียง ไม่รับ 51 เสียง และงดออกเสียง 460 เสียง
ร่างฉบับที่ 6 มีมติรับ 268 เสียง ไม่รับ 19 เสียง และงดออกเสียง 432 เสียง
ร่างฉบับที่ 7 มีมติรับ 212 เสียง ไม่รับ 139 เสียง และงดออกเสียง 369 เสียง
จากนั้นที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ในวาระ 2 จำนวน 45 คน แบ่งสัดส่วนเป็น ส.ว. 15 คน ส.ส. 30 คน แบ่งเป็น พรรคเพื่อไทย 8 คน, พรรคพลังประชารัฐ 8 คน, พรรคภูมิใจไทย 4 คน, พรรคก้าวไกล 3 คน, พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน, พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน, พรรคเสรีรวมไทย 1 คน, พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน กำหนดแปรญัตติ 15 วัน โดยใช้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นหลักในการพิจารณา และวางกรอบการดำเนินการภายใน 45 วัน ก่อนเสนอให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ต่อไป