สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศ อย่างเช่น กรุงปารีส ของฝรั่งเศส มีค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน ส่วนที่ลอนดอน ของอังกฤษ 5 เปอร์เซ็นต์, โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่สิงคโปร์ 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทำให้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เลือกใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ส่วนตัว ในการเดินทาง และมีเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ขนส่งมวลชน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และภาคประชาชน เห็นว่า ค่าบริการขนส่งสาธารณะต่อวันไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อวัน โดยเฉพาะค่ารถไฟฟ้า ไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าแรงขั้นต่อวัน
ด้วยเหตุผลนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และภาคประชาชน อยากให้กรุงเทพมหานครและภาครัฐ พิจารณา และชะลอการต่อสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-อ่อนนุช และส่วนต่อขยายสายสีเขียว กับบริษัท ระบบขนส่งมวลส่งกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ซึ่งอายุสัมปทานเดิม 30 ปี จะสิ้นสุดลงปี 2572 และการต่อรอบใหม่ จะอยู่ในกรอบอีก 30 ปี สิ้นสุดปี 2602 การต่อสัมปทาน จึงควรมีเขื่อนไข ที่จะให้ประชาชน ได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เช่น ค่าโดยสารที่ลดลง เหมาะกับค่าครองชีพ และบริการที่ได้คุณภาพ