ด้านความสามารถในการแพร่กระจาย โอมิครอน BA.2 แพร่ง่ายกว่า BA.1 และเดลตา ตามลำดับ
ด้านความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกัน โอมิครอน BA.2 จะมีความสามารถหลบหนีภูมิมากกว่า BA.1 และเดลตา ตามลำดับ ซึ่งเป็นทำนองเดียวกับโอกาสติดเชื้อโควิดซ้ำได้
ด้านความคงทนของเชื้อโรคบนพื้นผิวสัมผัส ยังไม่มีข้อมูลในสายพันธุ์ย่อย แต่พบว่า โอมิครอนอยู่บนพื้นผิวหนัง และผิวพลาสติกที่นานกว่าเดลตา
สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม XE หรือ XJ ยังคงมีข้อมูลที่จำกัด โดยข้อมูลเท่าที่มี พบว่าสามารถแพร่ติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเทียบเท่ากับสายพันธุ์ BA.2 มีอาการเช่นเดียวกับสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม
ทั้งนี้ ชุดตรวจ ATK ยังใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากโควิดทุกสายพันธุ์ ขณะที่มาตรการป้องกันส่วนบุคคลหากปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ยังคงมีประสิทธิภาพสูงเช่นเดิม ร่วมกับมาตรการวัคซีน ฉีดให้ครบตามเกณฑ์ และควรได้รับเข็มกระตุ้น เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต จากการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า วัคซีน 3 เข็ม ป้องกันการเสียชีวิตได้ 98-99%
ขณะที่สำรวจอนามัยโพลพบว่า ประชาชน 75% กังวลต่อเชื้อก่อโรคโควิดสายพันธุ์ใหม่ รวมถึงสายพันธุ์ลูกผสม ทั้งในเรื่องความรุนแรงของเชื้อ กลัวจะติดเชื้อได้ง่าย กลัวกระทบต่อการทำงาน/รายได้ ไม่รู้ว่าฉีดวัคซีนแล้วป้องกันได้หรือไม่ และเกือบ 1 ใน 4 ไม่รู้ว่าต้องดูแลป้องกันตนเองเพิ่มขึ้นอย่างไร