เสียงที่ได้ยินเมื่อสักครู่นี้ คือคำเปรียบเปรยที่ชาวบ้านในชุมชนเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง สะท้อนให้คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรับฟัง หลังเธอพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ แก้ไขปัญหาการดัดแปลงอาคารที่อยู่อาศัยเป็นอาคารเลี้ยงนกอีแอ่น ซึ่งสร้างผลกระทบเรื่องมลภาวะทางเสียง กลิ่น รวมถึงสุขภาพ ให้กับครอบครัวของเธอ จนสุดท้ายบานปลายกลายเป็นความขัดแย้ง ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ระเบียบและข้อกฎหมาย ที่ใช้บังคับเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รวมถึงกฎหมายอีก 4 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับบ้านรังนก เป็นตัวแปรสำคัญทำให้ปัญหาข้อพิพาทและความขัดแย้งยืดเยื้อไม่ได้รับการคลี่คลาย แม้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จะมีคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะ ให้คณะกรรมการผังเมือง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ขณะที่อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะผู้ที่ได้รับการร้องเรียน และติดตามผลการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้น มองปัญหาเรื่องนี้ เกิดจาการที่เจ้าหน้าที่รัฐ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ประเด็นนี้คอลัมน์หมายเลข 7 ร่วมติดตามตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กระทั่งมีคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่กลับกลายเป็นว่ายังมีช่องโหว่ของกฎระเบียบ ที่ทำให้ตึกรังนกยังปรากฎกลางชุมชน จนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สั่งสมในสังคมไทย เสมือนการทุจริตคอร์รัปชัน