อาชีพคนบนเสาเข็มเจาะ ที่วันนี้ กล้าลองกล้าลุย และทีมงาน เราขอเกาะติดเบื้องหลังกันต่อ หลายท่านคงได้เห็นการทำงานบางส่วนไปแล้ว ความยากของงานนี้คงไม่ใช่แค่การทำงานอยู่บนที่สูงแค่นั้น แต่ทุกขั้นตอนมีความสำคัญหมด แม้แต่ปูนที่ผสมมาต้องตรวจสอบความข้นเหลวให้แน่ใจก่อน เพราะทั้งหมดนี้พลาดไม่ได้เลยแม้แต่น้อย วิศวกรเองต้องควบคุม และใส่ใจในทุกขั้นตอน
เมื่อตรวจสอบว่าปูนได้มาตรฐานแล้ว ก็จะเริ่มลงมือเทลงไปในรูเสาเข็มทันที อีกหน้าที่ที่มีความสำคัญก็คือคนคอยควบคุมการปล่อยปูนด้านบน ไม่ใช่ก็ทำได้เลย เพราะหน้างานมีอุปสรรคหลายอย่าง
ขึ้นไปบนนั้นต้องนั่งอยู่บนนั้น ช่วยกันทำงานสองคน
อย่างผมเองครั้งแรกที่ได้ลองขึ้นไปนั่งด้านบน ถังเทปูนเปล่า ๆ ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้พร้อม พี่ ๆ เขาบอกว่า ก่อนอื่นต้องนั่งเล่นดูก่อน โดยใช้เครนดึงขึ้นดึงลงไปมาให้ชินกับระดับความสูง ครั้งแรกก็ตื่นเต้น แต่ตอนหลังมาเริ่มสนุก
เมื่อนั่งมาจนถึงจุดที่เจาะเสาเข็มเอาไว้ ต้องคล้องเหล็กเข้าปากถังเทปูนทั้งสองด้านโดยอีกคนจะทำหน้าที่ดันเปิดจุดเทปูนออก
การเทปูน รถเครนจะยกตัวเราขึ้นจนสุดปากหลุม เพื่อให้ปูนลงไปเรียงตัวอยู่ด้านล่าง พร้อมกับดันเราขึ้นลงอีกทีแบบนี้
นั่งอยู่บนนี้พร้อมปูนเต็มถังหวาดเสียวไม่น้อยเลย การเทปูนด้านบนนี้ทั้งสองคนจะมองเห็นรูเสาเข็มได้ดีที่สุด ต้องพยามยามระมัดระวังให้ปูนที่เทลงไปอยู่ในระดับที่พอดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ที่สำคัญต้องไม่ให้ล้นออกมามาก เพื่อควบคุมต้นทุนและใช้ปูนได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด คราวนี้ผมเองขอสลับฝั่งนั่ง ลองทำงานช่วย เอ้ กฤษดา ดูซะหน่อย ด้วยความที่อยากรู้ว่ามันจะยากซักแค่ไหน
ยิ่งอยู่สูงด้านบนนี้ก็ยิ่งส่าย ทำงานไปต้องคอยนั่งและจับให้ดี แต่นี่ยังไม่ท้าทายพอ คราวนี้เราจะขึ้นไปให้สูงที่สุด
คนบนเสาเข็มเจาะจะมีรายได้ 20,000-25,000 บาทต่อเดือน แบงค์ บุญนำ วิศวกรผู้ควบคุมงาน บอกว่า ทีมเสาเข็มเจาะวิศวของเขาอยู่กันแบบครอบครัว ที่นี่มีงานตลอดปี ถ้าคนขยันมาทำงานด้วย ปีนึงจะได้เงินเก็บเยอะเลย
เสาเข็มเจาะที่เห็น เมื่อเทคอนกรีตแล้วต้องทดสอบความแข็งแรงและหาจุดบกพร่องอีกครั้ง จึงไม่แปลกใจที่แบงค์จะบอกว่ามีงานตลอดทั้งปี ทั้งหมดนี้เห็นได้จากความเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดของเขา ส่วนผมหลังทดลองทำงานอยู่ด้านบน จนพอใจแล้ว ตอนนี้ขอลงไปข้างล่างแล้ว ไว้มีโอกาสจะขอมาเป็นผู้ช่วย เอ้ กฤษดา ใหม่