สาเหตุที่ดัชชีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น เกิดจากเศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง
ปัจจัยหลักเงินเฟ้อที่ยังสูงขึ้นมาจากสินค้ากลุ่มพลังงานยังเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งราคาพลังงานเป็นต้นทุนในทุกขั้นตอนการผลิตและโลจิสติกส์ของสินค้าและบริการ
ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญสูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เป็นผลของการคำนวณจากฐานดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนก.ค. 2564 ที่ค่อนข้างต่ำ จึงทำให้เงินเฟ้อขยายตัว
ทั้งนี้กลุ่มพลังงาน มีอัตราการเติบโตของราคา 33.82 % ส่งผลให้พลังงานมีสัดส่วนผลกระทบต่อ เงินเฟ้อในเดือนนี้ 52.57 % แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิด เช่น แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน ในเดือนนี้จะปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แต่ต้นทุนการผลิตและการขนส่ง ยังสูง เนื่องจากราคาก๊าซหุงต้ม ไฟ้ฟ้า และน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ในระดับสูง
โดยกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มีอัตราการเติบโตของราคา 8.02% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อาทิ ไก่สด พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ทั้ง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม รวมถึงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการขนส่ง ประกอบกับความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ถั่วฝักยาว มะนาว ขิง ผักคะน้า กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ลองกอง
โดยเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลง 0.16 % เป็นการปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าครั้งแรกในรอบปี 65 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำมันพืช และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดบางชนิด เช่น น้ำยารีดผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 65 เป็นระหว่าง 5.5 - 6.5 % ค่ากลาง 6.0% จากกรอบเดิม 4.5 % ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย