วันนี้ (28 พ.ย.65) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดนและผ่านแดนเดือนตุลาคม และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สามารถส่งออกสินค้าได้ 801,273 ล้านบาท ลดลง 4.4% เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางและผลไม้สด และสินค้าอุตสาหกรรม ยอดส่งออกลดลงติดลย 2.3% และ 3.5%ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกประเภทอื่น ๆ อาทิ ไก่สดแช่แข็ง ผลไม้แช่แข็ง ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในเดือนตุลาคมยอดการส่งออกจะลดลงติดลบ แต่ภาพรวมช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกไทยยังเป็นบวก เพิ่มขึ้น 9.1% มูลค่า 8,325,091 ล้านบาท โดยสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 4.3% สร้างเงินให้ประเทศ 777,212 ล้านบาท สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 2.6% สร้างเงินให้ประเทศ 665,537 ล้านบาท สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 7.8% สร้างเงินให้ประเทศ 6,528,647 ล้านบาท
สำหรับภาพรวมการส่งออกที่เหลือของปีนี้ ยังมั่นใจว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวสูงกว่าเป้าหมาย100% จากตามเป้าหมาย 4% เป็น 8%
ปัจจัยหนุนการส่งออกของประเทศไทยปีนี้
1.ค่าเงินบาทที่ยังอ่อนตัว
2. ไทยได้ขยายตลาดส่งออกใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดใหม่ที่สามารถทำตัวเลขได้ดี รวมถึงตลาดตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย สหอาณาจักรเป็นต้น
ปัจจัยลบที่ฉุดการส่งออก
1.การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกน่าเป็นห่วง ทั้งกระทรวงพาณิชย์และเอกชนประเมินเห็นตรงกันว่าจากนี้ไปจะต้องฟันฝ่าเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ต้องเร่งทำการส่งออกให้ดีที่สุด จากการประเมินภาพรวมปีที่แล้วเศรษฐกิจโลก +6% แต่ปีนี้แนวโน้มจะ +3.2% และปีหน้า +2.7% กระทรวงพาณิชย์ต้องจับมือกับเอกชนอย่างเข้มแข็งในการฟันฝ่าแรงเสียดทานนี้
2.มาตรการซีโร่โควิดของตลาดใหญ่ที่สุดของไทยคือจีนยังไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง
3.ดัชนีการผลิตหรือ PMI ของคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย ลดลงต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีนหรือสหภาพยุโรป ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ประชุมร่วมกับเอกชน
ทั้งนี้ได้หารือกับภาคเอกชนและหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการเตรียมการรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดย
1.เร่งหาตลาดใหม่ทดแทนการส่งออก ในบางตลาดเช่น ตลาดเคมีภัณฑ์กับเม็ดพลาสติก มีมูลค่าถึง 6.62% ของตัวเลขการส่งออกทั้งหมด ตลาดที่เตรียมการไว้ในการเร่งยอดส่งออก คือ ตะวันออกกลาง แอฟริกาและกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น อินเดียปากีสถาน บังกลาเทศ เป็นต้น
2.เร่งรัดการส่งออกข้าว โดยอินเดียเริ่มขึ้นภาษีการส่งออกข้าว จะเป็นช่องทางให้ไทยหาตลาดทดแทนตลาดอินเดีย ทั้งตลาดอินโดนีเซียหรือตลาดแอฟริกาและอื่นๆ ตลาดแอฟริกาตลาดข้าวยังขยายตัวได้ดี เช่น โมซัมบิกเดือน ต.ค. +284% ตลาดแคเมอรูน +413% กานา +117% อิรัก +413% เป็นต้น การเร่งหาตลาดเคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติกและตลาดข้าว มีความสำคัญและตลาดผลิตภัณฑ์ยางพารา ต้องเร่งส่งเสริมเพิ่มมูลค่าการส่งออกและการผลิต เช่นส่งเสริมการแปรรูปการทำยางล้อ จูงใจใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น เร่งรักษาตลาดยานยนต์ของไทย จะมีการนำคณะร่วมงานยานยนต์ระดับโลกจับมือกับเอกชนเดินหน้าต่อไป
“คาดว่าภาพรวมทั้งหมดของการส่งออกปี 65 ยังเป็นบวก จากการประมาณการร่วมกับภาคเอกชนล่าสุด ยังมั่นใจว่าเกินเป้าการส่งออกปี 65 กำหนดไว้ +4% คาดว่าจะเพิ่มเกือบหนึ่งเท่าตัว ส่วนมูลค่าตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 9 ล้านล้านบาท มีแนวโน้มจะเกินกว่า 9 ล้านล้านบาท การส่งออกยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในปี 65 ” นายจุรินทร์ กล่าว