ปรากฏการณ์ค่าจ้าง 2 ขั้ว สร้างความเหลื่อมล้ำค่าจ้าง

View icon 42
วันที่ 30 พ.ย. 2565 | 07.22 น.
สนามข่าว 7 สี
แชร์
สนามข่าว 7 สี - นักเศรษฐศาสตร์ พบ ปรากฏการณ์ "ค่าจ้างสองขั้ว" ในตลาดแรงงานไทย โดยค่าจ้างของแรงงานในกลุ่มอาชีพทักษะสูง และ กลุ่มอาชีพทักษะต่ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มอาชีพทักษะปานกลาง มีแนวโน้มคงที่

งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบปรากฏการณ์ "ค่าจ้างสองขั้ว" ในตลาดแรงงานไทย โดยค่าจ้างของแรงงานในกลุ่มอาชีพทักษะสูง และ กลุ่มอาชีพทักษะต่ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าจ้างของแรงงานกลุ่มอาชีพทักษะปานกลางมีแนวโน้มคงที่

โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการจ้างงานแรงงานทักษะสูง ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึง ความไม่เท่าเทียมของค่าจ้างในประเทศไทย

ส่วนทักษะทางปัญญาและทักษะทางกายภาพที่แรงงานจำเป็นต้องใช้ ในแต่ละอาชีพ พบว่า ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ตลาดแรงงานไทย มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางปัญญามีระดับสูง มากกว่าแรงงานที่มีทักษะทางกายภาพ ทำให้เกิดความแตกต่างของค่าจ้าง และยังทำให้ความไม่เท่าเทียมด้านค่าจ้างแรงงาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ผลวิจัย ยังชี้ให้เห็นว่า จำนวนแรงงานทักษะสูง มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน นโยบายการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับ "คุณภาพ" ของการศึกษามากขึ้นด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง