รู้จักระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ

รู้จักระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ

View icon 73
วันที่ 24 ม.ค. 2566 | 17.14 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
#เศรษฐศาสตร์ตลาดสด ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อการวางแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างรวดเร็วมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาระบบคลังข้อมูลขนาดใหญ่สามารถนำมาใช้ประมาณการ การวางแผนทรัพยากรชุมชนและระดับจังหวัด แนวทางการอนุรักษ์ได้อย่างเป็นระบบ การปรับปรุงข้อมูลการนำเข้าข้อมูลสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ รวมทั้งหาแนวทางแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความคืบหน้าในปีนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กรมทรัพยากรน้ำ ประสานกับ 18 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาจาก 5 กระทรวงและ 1 องค์กรพัฒนาเอกชน อีกทั้งเชื่อมโยงกับหน่วยงานระหว่างประเทศ คือ Global Biodiversity Information Facility และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ช่วยในการพัฒนาระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ลักษณะคลังข้อมูลขนาดใหญ่ มีการปรับปรุงและนำเข้าข้อมูลสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ จำนวน 15 แห่ง ระดับชาติ จำนวน 47 แห่งและระดับนานาชาติ จำนวน 69 แห่ง การพัฒนาการแสดงข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่นำร่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ และความร่วมมือในระดับต่างๆ

“ทำความรู้จักระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ” ตั้งแต่ปี 2561 ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (Thailand Biodiversity Information Facility) เป็นศูนย์ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งข้อมูลพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน การรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งรวบรวมงานวิจัย การใช้ประโยชน์ สถานภาพตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รายชื่อผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ปัจจุบันมีข้อมูลเชื่อมโยงเครือข่ายมากกว่า 120,000 รายการ ทั้งนี้การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพดำเนินควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 และกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ มีอะไรบ้าง” จากข้อมูล สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป้าหมายเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้

เป้าหมายที่ 2 “การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบในทุกที่” โดยกำหนดไว้ในเป้าประสงค์ที่ 2.5 เรื่องการให้ดำรงรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์ พืชปลูกและปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงและชนิดพันธุ์ป่า ที่มีความเกี่ยวข้องกัน รวมถึงโดยอาศัยธนาคารเมล็ดพันธุ์และพืชต่างๆ ที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และส่งเสริมการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ตามที่ได้รับ ความเห็นชอบร่วมกันในระดับนานาชาติ

เป้าหมายที่ 6  “การสร้างหลักประกันในการจัดให้มีและการจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน” โดยกำหนดไว้ในเป้าประสงค์ท่ี 6.6 ให้ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวกับน้ำ รวมถึงภูเขาป่าไม้พื้นท่ี ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบ

เป้าหมายที่ 12  “การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน” โดยกาหนดให้มีการดาเนินการที่เก่ียวข้องดังนี้ เป้าประสงค์ที่ 12.2 บรรลุผลสำเร็จในการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2573 และเป้าประสงค์ท่ี 12.8 “สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง” และความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี 2573

เป้าหมายที่ 14  “การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล อย่างยั่งยืน” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดให้ภายในปี 2568

เรื่องการพัฒนาองค์ความรู้และระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งเรื่องที่เห็นชัดเจนว่าได้รับความร่วมมือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเด็นที่อยากจะย้ำให้เห็นความคืบหน้าโดยเร็วคือ การจัดทำฐานข้อมูลเรื่องธนาคารเมล็ดพันธุ์และพืช เรื่องการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ท่ีเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม อีกทั้งเกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันเร่งด่วนให้เห็นเป็นรูปธรรม

ธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน เป็นวิธีการหนึ่งสำหรับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแบบนอกถิ่นที่อยู่อาศัย โดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้คงความมีชีวิตและอยู่ได้นานที่สุด เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชป่าและพืชพื้นเมือง  ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่ดีและพืชที่มีความสำคัญต่องานด้านการอนุรักษ์ ที่เห็นตัวอย่าง เช่น ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในส่วนของสถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา  ธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชนเป็นโมเดลที่ต้องผลักดันให้เกิดในหลายๆ พื้นที่ในประเทศ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศไทย

การใช้ประโยชน์มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล หรือ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) การพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นการบูรณาการการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทร ทะเลเป็นแหล่งอาหารอนาคตที่สำคัญ มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นประเด็นที่ต้องมีกรอบความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ข้อมูลจาก TDRI ระบุว่า ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลกว่า 320,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 60 ของอาณาเขตทางบก และมีความยาวของชายฝั่งทะเลกว่า 3,100 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด ทำให้ทรัพยากรทางทะเลสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลไม่น้อยกว่า 24 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

ประเทศไทยมีความได้เปรียบเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อมูลการบริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญเพื่อใช้ในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนให้สู่รุ่นลูกหลานในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง