นวัตกรรมสร้างสุข : เพาะพันธุ์ลูกปูทะเล สู่ความมั่นคงทางอาหารชายแดนใต้

View icon 147
วันที่ 25 ม.ค. 2566 | 12.55 น.
7 สีช่วยชาวบ้าน
แชร์
7 สีช่วยชาวบ้าน - ลงใต้ไปที่จังหวัดปัตตานี ไปดูโรงเพาะเลี้ยงปูทะเล ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ปัจจุบัน กลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุกระจายตัวอ่อนปูทะเล ส่งให้กับเกษตรกร ทำให้พื้นที่ชายแดนภาคใต้ เตรียมขึ้นชื่อเป็นเมืองปูทะเลโลกอย่างเต็มตัว ติดตามจาก คุณอรรถพล ดวงจินดา

แม่ปูวัยเจริญพันธ์ุ ที่กำลังอุ้มไข่ในกระดอง ที่ผ่านการคัดเลือก ถูกนำมาเลี้ยงไว้ในถังน้ำหลากหลายขนาด เป็นแม่พันธุ์ปูในระยะฟักตัวอ่อน ภายในโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ขบวนการทั้งหมด ถูกควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งเรื่องคุณภาพน้ำ ความเค็ม ปริมาณแร่ธาตุในน้ำ ค่าของแอมโมเนีย รวมถึงอาหาร ซึ่งเป็นแพลงตอนสัตว์ สำหรับอนุบาลลูกปู เพื่อการเพาะพันธุ์แม่ปู 1 ตัว จนได้มาซึ่งลูกปู วัยอ่อน 3-5 ล้านตัว แทนโครงการธนาคารปูอย่างอดีต อีกทั้งมีอัตราการรอดสูง

ปัจจุบันการส่งเสริมการเลี้ยงปู ได้รับการตอบรับจากเกษรตรมากขึ้น ด้วยราคาผลผลิตสูง ขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก ทำให้พื้นที่บ่อกุ้งรกร้าง ถูกเปลี่ยนเป็นบ่อเลี้ยงปูเพิ่มมากขึ้น แต่ก็พบว่า อัตราความต้องการปูที่ออกสู่ตลาด ยังไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค

การส่งเสริมเลี้ยงปูทะเล นอกจากจะถูกยกระดับจากต้นน้ำ ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงพันธุ์ตัวอ่อน จนนำไปสู่การส่งเสริมเลี้ยงในบ่อดิน และเลี้ยงปูบนคอนโดมิเนียมแล้ว ยังสร้างเม็ดเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ เปลี่ยนที่ดินรกร้างริมทะเล ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง