รายงานพิเศษ : หอบคนไทย 36 ชีวิต ในตุรกี กลับบ้าน

View icon 146
วันที่ 17 ก.พ. 2566 | 07.19 น.
สนามข่าว 7 สี
แชร์
สนามข่าว 7 สี - การลำเลียงผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว ที่รุนแรงเป็นอันดับ 6 ของโลก ในประเทศตุรกี กลับสู่ประเทศไทย จำเป็นต้องมีขั้นตอนปฏิบัติที่รัดกุม เพราะผู้ประสบเหตุอาจเจอภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลา ต้องทำอย่างไร ติดตามจาก คุณมะลิ แซ่ฉิ่น

นี่เป็นนาทีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น บนเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 ของกองทัพอากาศ ที่มารับผู้ประสบภัยพิบัติในประเทศตุรกี กลับประเทศไทย เมื่อจู่ ๆ ผู้โดยสารมีอาการกำเริบระหว่างการเดินทาง แต่โชคดีที่แพทย์ประจำทีม มีเวชภัณฑ์พร้อม จึงสามารถระงับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ทุกภารกิจการช่วยเหลือ เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยพิบัติ แพทย์ระบุว่า ต้องมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดี ตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะข้อมูลการเจ็บป่วย จะได้เตรียมยาให้เหมาะสมกับโรค รวมถึงวิธีการเคลื่อนย้าย เพราะเหตุการณ์ไม่คาดคิดทางสุขภาพ เกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไกล บนอากาศ จากตุรกี ถึงประเทศไทย ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

อีกเรื่องสำคัญคือการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งต้องเตรียมการตั้งแต่ ข้อมูลทางการแพทย์ ไปจนถึงเอกสารการเข้าออกเมือง ซึ่งหลายกรณีภัยพิบัติ เอกสารของผู้ประสบเหตุมักสูญหาย กรมการกงสุล จึงต้องแม่นยำ และรอบคอบ เพื่อพาคนไทย ที่ตกทุกข์ได้ยาก ในต่างแดน กลับสู่อ้อมกอดของคนในครอบครัว ที่บ้านเกิดอย่างปลอดภัย

เป็นอีกภารกิจ ที่มีทั้งความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ความพร้อมของอากาศยาน และบุคคลากร ที่วางแผนอย่างรัดกุม จึงทำให้การนำพาคนไทย ทั้ง 36 คน ที่ประสบภัยพิบัติกลับแระเทศไทย ประสบความสำเร็จ ท่ามกลางความหวังของคนในครอบครัวที่รอรับอยู่ปลายทาง