นวัตกรรมสร้างสุข : LAAAMP โครงการวิจัยด้วยแสงซินโครตรอน

View icon 36
วันที่ 22 ก.พ. 2566 | 12.55 น.
7 สีช่วยชาวบ้าน
แชร์
7 สีช่วยชาวบ้าน - นวัตกรรมสร้างสุขวันนี้ไปดูโครงการ LAAAMP (แล้มป์) ที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยนำเสนองานวิจัยด้วยแสงซินโครตรอนที่ต้องการสนับสนุน เพื่ออัพเดทมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ติดตามจากรายงาน

โครงการ LAAAMP หรือ Light sources for Africa, the Americas, Asia, Middle East and Pacific เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาจากทั่วโลกได้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้วยแสงซินโครตรอน โดย LAAAMP จะให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างเช่นทีมนักวิจัยจากภาควิชาสเปกโตรสโกปี สถาบันวิจัยฟิสิกส์ ศูนย์วิจัยแห่งชาติอียิปต์ ที่นำงานวิจัยเกี่ยวกับนิ่วในไตและฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ของประเทศในเอเซียตะวันออกกลาง และในกรุงไคโร มาศึกษาด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย ให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่าข้อมูลจากเครื่องวิเคราะห์ตามห้องปฏิบัติงานทั่วไป

โครงการ LAAAMP มีความพิเศษคือให้โอกาสแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษา สามารถมาเยือนสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเพื่อทำวิจัยได้นานถึง 2 เดือน โดยต้องยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยให้แก่ LAAAMP พิจารณา ซึ่งการมาครั้งนี้ทีมนักวิจัยจากอียิปมุ่งศึกษาคุณลักษณะของนิ่วในไต ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของประชาชนทั่วโลก และมีโอกาสพบนิ่วในไตอย่างน้อย 1 ครั้งได้มากถึง 40% หรือบางคนอาจจะเป็นได้มากกว่านั้น

งานวิจัยครั้งนี้ต้องจึงจำเป็นต้องเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างแสงซินโครตรอนในการศึกษาลักษณะของนิ่วในไต ซึ่งระยะเวลา 2 เดือนก็นานพอให้นักวิจัยได้ศึกอีกโครงการ คือเรื่องอนุภาคฝุ่น จึงเห็นได้ว่าแสงซินโครตรอนสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้มากกว่าข้อมูลที่ได้เครื่องมือทดสอบในห้องปฏิบัติการทั่วไป นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศที่เล็งถึงประโยชน์และความสำคัญของการใช้แสงซินโครตรอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง