นายกสมาคมโรงแรม จ.เชียงราย วอนรัฐบาลใหม่ ตรึงราคาค่าแรง

นายกสมาคมโรงแรม จ.เชียงราย วอนรัฐบาลใหม่ ตรึงราคาค่าแรง

View icon 6.1K
วันที่ 1 มิ.ย. 2566 | 09.54 น.
ข่าวช่อง7HD
แชร์
นายกสมาคมโรงแรม จ.เชียงราย วอนรัฐบาลใหม่ ตรึงราคาค่าแรง เพราะหากต้นทุนสูง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดพนักงาน เพื่อความอยู่รอด

บรรยากาศการเข้าใช้บริการตามโรงแรมและที่พักต่างๆของจังหวัดเชียงราย พบว่ามีลูกค้าเข้าไปใช้บริการค่อนข้างน้อยและบางตา โดยส่วนใหญ่มีเพียงกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีการเตรียมแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้าเดินทางมาท่องเที่ยวตามโปรแกรมเท่านั้น ส่วนนักท่องเที่ยวคนไทยนั้นไม่ค่อยมี เนื่องจากระยะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนซึอเป็นถือเป็นช่วง low season ทำให้ผู้ประกอบการต่างๆมีความกังวลในเรื่องของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงนี้หรือในปีนี้ โดยเฉพาะตามนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้หาเสียงไว้ในการเลือกตั้ง สส.ครั้งที่ผ่านมา

นายวิโรจน์ ชายา นายกสมาคมโรงแรม จ.เชียงราย เผยว่า ในช่วงนี้สถานการณ์การท่องเที่ยวได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการเข้าพักเหลือเพียงร้อย 10-20 เท่านั้น จากห้วงต้นปีมาถึงพฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 40-50 เพระาเป็นช่วงโลว์ที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมมาท่องเที่ยวในช่วงนี้ ซึ่งการท่องเที่ยวจะพื้นตัวอีกทีประมาณเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ระยะนี้จึงเป็นช่วงของการประคองธุรกิจของผู้ประกอบการ

นายวิโรจน์ กล่าวว่า สถานการณ์ธุรกิจที่ไม่สู้ดีนัก นับตั้งแต่การเกิดการแรพ่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ปี 2563 ในปีนี้กำลังจะเริ่มพื้นตัวมีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70-80 เปอร์เว็นต์ ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้มาหมุนเวียนจากช่วงที่หายไปเกือบร้อยเปอร์เว็นต์ระยะเวลากว่า 3 ปี  มีกระแสว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิมที่ประมาณ 300 กว่าบาท ซึ่งอาจขึ้นไปสูงถึง 450 บาท นั้นสร้างความกังวลแก่ผู้ประกอบการส่วนมาก เพราะเกรงจะกระทบต่อการดำเนินการธุรกิจได้

นายวิโรจน์ กล่าวว่า เชียงรายมีโรงแรมที่พักและโฮมสเตย์ ทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายกว่า 600 แห่ง มีห้องพักบริการกว่า 18,000 ห้อง และมีพนักงานบริการประมาณ 8,000-10,000 คน ซึ่้งที่ผ่านมาทำการและอาศัยอยู่กันแบบพี่น้อง กินอยู่ด้วยกัน ทำงานตามสภาพความเป็นของสถานการณ์ ซึ่งค่าแรงเดิมคนงานก็มีรายได้จุลเจือครอบครัว ผู้ประกอบการก็อยู่ได้เหลือกำไรทำธุรกิจต่อ  หากมีการปรับขึ้นค่าแรงในปีนี้ ซึ่งธุรกิจเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว บางแห่งก็ยังไม่ฟื้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

นายวิโรจน์ กล่าวด้วยว่าเมื่อต้นทุนสูงขึ้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดพนักงานเพื่อความอยู่รอด หรือสับเปลี่ยนเวลาในการทำงาน อาจสลับกันทำงานแล้วแต่กำหนดหรือมีการกำหนดการทำงานที่ชัดเจนมีการตั้งกฎการปรับหรือตัดเงินหากทำงานสายหรือเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งภาคธุรกิจที่บริการไม่ได้เต็มที่ และพนักงานก็จะมีรายได้น้อยกว่าที่เป็นอยู่ หรือบางคนอาจต้องตกงานไม่มีงานทำ จึงอยากให้ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ ยังไม่ควรขปรับขึ้นค่าแรงในปีนี้ จนกว่าสถานการณ์ทางธุรกิจจะฟื้นตัวจริงๆ หรือหากมีความจำเป็นจริงก็ให้ปรับตามค่าครองชีพจริงของแต่ละพื้นที่ ไม่มีการปรับในอัตราเดียวเท่ากันทั้งประเทศ และไม่ควรที่จะปรับในอัตราที่สูงเกินไป เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ได้ ซึ่งการปรับค่าแรงสูงหากเป็นบริษัทใหญ่หรือโรงแรมขนาดมี Service charge สามารถมีเงินส่วนั้นมาช่วยได้ แต่หากเป็นสถานการประกอบการเล็ก หรือ โรงแรมขนาดเล็กไม่มีลักษณะนั้น ต้นทุนต่างๆจะอยู่ที่ผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง