เช้านี้วิถีไทย : อยู่ อย่าง มอญ @ชุมชนบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา

View icon 92
วันที่ 2 มิ.ย. 2566 | 06.15 น.
เช้านี้ที่หมอชิต
แชร์
เช้านี้ที่หมอชิต - เช้านี้ วิถีไทย จะพาไปใช้ชีวิตแบบ ชาวมอญ 1 วัน ตามไปดูที่มาของ "อิฐมอญ" ที่หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมมอญ ไว้ได้อย่างดี ตาม คุณบัวบูชา ปุณณนันท์

พระนครศรีอยุธยา ไม่ได้มีเพียงอุทยานประวัติศาสตร์ แต่ยังมีชุมชนที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ตัวเองไว้ได้อย่างดีคือ ชุมชนชาวมอญที่อพยพมาจากเมียนมาตั้งแต่สมัยพระนเรศวร หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โฮมสเตย์ไทรน้อย ตั้งอยู่ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จุดเด่นของอิฐมอญ คือความแข็งแรง ทนแดด ทนฝนดี เคล็บลับคือการนำดินเหนียวปนทราย มาผสมแกลบ แล้วนำมาเผาด้วยเตาดั้งเดิมจนสุก

หนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สร้างด้วยอิฐมอญ คือ โบสถ์มหาอุตม์ ที่มีอายุหลายร้อยปี ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ "หลวงพ่อใหญ่" เป็นสถานที่ที่สมเด็จ พระนเรศวรรับสั่งให้คนมอญสร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชายชาติทหารได้มาสวดมนต์ นั่งสมาธิก่อนรบ ส่วนหญิงมอญก็มาช่วยกันปักผ้าสไบมอญ คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของหญิงชาวมอญนั้น "ต้องปักผ้าเป็น"

นอกการปักสไบแล้ว ปัจจุบันก็มีการนำมาประยุกต์ปักบน กระเป๋าหมวก ผ้าเช็ดหน้า ทำไปใช้ได้จริงแต่ถ้าเห็นลายเมื่อไหร่ ก็รู้เลยทันทีว่าเป็นมอญ ที่มาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นอกจากสวยแล้ว สาว ๆ ที่นี่ยังอายุยืนด้วย เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มจากปลายเท้า นวัตกรรมอย่าง "นมสาว" หรือ "ตากะลานวดฝ่าเท้า" ที่นำกะลามะพร้าวมาทำเป็นที่นวดฝ่าเท้าโดดเด่นกว่าที่ไหน เพราะไม่ได้มีแค่ 2 ใบ แต่มีถึง 5 ใบ พร้อมท่าออกกำลังกาย เรียกได้ว่า เจ็บแต่จบตัวตึงหมอชิต

ตึงมากแบบนี้ สงสับต้องมีตัวช่วยอย่าง "ยาหม่องสมุนไพร" ที่เราสามารถทำเองแบบสด ๆ ด้วยสมุนไพรที่ชาวบ้านปลูกเอง จะใช้เอง หรือเป็นของฝากก็ดี ความตั้งใจของชาวบ้านที่อยากปั้นให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์รากเหง้าของตัวเองไว้ให้คงอยู่ถึงรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย มาเที่ยวกันที่ชุมชนบ้านมอญ บางบาล พระนครศรีอยุธยา