กัมพูชาศึกษาระบบ “คอนแทรคฟาร์ม” ของเอกชนไทยจ่อนำไปแก้ปัญหาเกษตรกรมีอาชีพมั่นคง

กัมพูชาศึกษาระบบ “คอนแทรคฟาร์ม” ของเอกชนไทยจ่อนำไปแก้ปัญหาเกษตรกรมีอาชีพมั่นคง

View icon 52
วันที่ 9 มิ.ย. 2566 | 13.42 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
คณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง และนักวิจัยจากสถาบันนโยบายศึกษา ประเทศกัมพูชา พร้อมด้วยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ  ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรี 2 ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับระบบคอนแทรคฟาร์มิ่ง

คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming)  หรือเกษตรพันธสัญญา เป็นระบบที่ช่วยส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรรายย่อยของประเทศไทย  ซึ่งซีพีเอฟ ใช้ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อยกว่า 5,900 ราย ได้มีอาชีพที่มั่นคง และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่เสี่ยงทั้งด้านราคาและตลาด  เป็นรูปแบบที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ  (FAO) ยกเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาภาคเกษตร พร้อมนำไปเป็นแนวทางถ่ายทอดให้หลายประเทศนำไปประยุกต์ใช้

ทั้งนี้  นักวิจัยประเทศกัมพูชา  สนใจระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งหลายด้าน เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรกัมพูชาถูกบริษัทคู่สัญญาไม่รับผลผลิตตรงตามเวลานัดหมาย จึงต้องการนำแนวทางนี้ไปศึกษาพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสัญญาให้เหมาะสมกับเกษตรกรขอกัมพูชา  เช่น เรื่องผลประโยชน์ที่เกษตรกรคู่สัญญาจะได้รับ การจ่ายเงินค่าผลผลิต การหาแหล่งเงินกู้ให้กับเกษตรกร การประกันความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

นายดิถดนัย ผ่องสุวรรณ ผู้อำนวยการธุรกิจไก่เนื้อ 2 ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ. ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้กับ นักวิจัยของกัมพูชาและทีดีอาร์ไอ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตอาหารครบวงจร และโมเดลความสำเร็จระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งตามมาตรฐานสากล ที่ส่งเสริมการเลี้ยงไก่เนื้อในระบบ EVAP (Evaporative Cooling System) ควบคุมอุณหภูมิให้สอดคลัองกับธรรมชาติของสัตว์ ควบคู่กับหลักสวัสดิภาพสัตว์ ให้กับเกษตรกรคู่สัญญา รวมถึงการส่งเสริมเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง