ห่วงกัญชา ถูกปิดกั้นเสรีทางการแพทย์

View icon 116
วันที่ 20 ส.ค. 2566 | 04.04 น.
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์
แชร์
สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ - ความกังวลของนักวิชาการบางกลุ่ม ห่วงสมุนไพรกัญชาถูกผลักดันกลับไปเป็นยาเสพติด ปิดกั้นเสรีทางการแพทย์ หลังพบสรรพคุณมากมาย

ห่วงกัญชา ถูกปิดกั้นเสรีทางการแพทย์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แสดงความกังวล ห่วงสมุนไพรกัญชา จะถูกพลักดันกลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง หลังปลดล็อกให้ใช้อย่างเสรี

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า กัญชา ให้คุณประโยชน์ทางการแพทย์หลายด้าน ปัจจุบันมียาและเวชภัณฑ์หลายชนิดที่มีส่วนผสมสารสกัดของกัญชา ซึ่งที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดโรงปลูกกัญชาบนเนื้อที่ 16 ไร่ เป็นระบบปิด ไร้ศัตรูพืช และสิ่งแปลกปลอม เพื่อศึกษา และพัฒนากัญชาให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การสร้างตำรับยา ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ทุเลา และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

ซึ่ง กัญชา หากนำมาใช้เสรีทางการแพทย์ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่หากมีข้อกังวลนำมาใช้นันทนาการจนเกินเหตุ รัฐบาลใหม่ต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุม กำหนดโทษความผิด หากใช้งานผิดประเภท โดยไม่ต้องผลักดันกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด

กัญชา หากนำมาใช้เสรีในทางการแพทย์ ก็เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน แต่หากนำมาสูบกันอย่างเสรี ภาครัฐก็ควรศึกษาผลดี ผลเสียให้รอบด้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสังคม

18 % ของการเสียชีวิต มาจากพิษควันบุหรี่
บุหรี่ก็เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งแบบมวล และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากพิษบุหรี่มากกว่า 80,000 คน หรือ คิดเป็น 18 % ของการเสียชีวิตทั้งหมด และในจำนวนนี้ ต้องเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสอง กว่า 6,000 คน คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 352,000 ล้านบาทต่อปี ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า คนไทยสูบบุหรี่ มากกว่า 9.9 ล้านคน โดยภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุดจากทุกรอบการสำรวจ อยู่ที่ 22.4 % ซึ่ง 5 จังหวัดแรก อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดเลย และยังพบการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะศาสนสถานในทุกศาสนามากถึง 21% 

ด้าน นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า จากข้อมูลที่มี เป้าหมายการลดปริมาณการสูบบุหรี่ ต้องมุ่งไปที่นักสูบทางภาคใต้ก่อน โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริม 5 มัสยิด ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 90 แห่ง ต้องดำเนินการให้เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่อย่างจริงจัง รณรงค์ให้รู้เท่าทันพิษภัยจากควันบุหรี่ ให้ตระหนักถึงอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างทุกข์ทรมาน