สุดสงสาร เด็กหญิง 3 ขวบ ต้องตัดก้อนเนื้อส่วนที่เป็นแผลบวมทิ้งไปจนขาแหว่ง

สุดสงสาร เด็กหญิง 3 ขวบ ต้องตัดก้อนเนื้อส่วนที่เป็นแผลบวมทิ้งไปจนขาแหว่ง

View icon 1.4K
วันที่ 8 ก.ย. 2566 | 12.08 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อุทาหรณ์เด็ก 3 ขวบโดนยุงกัดขา เกาจนเป็นแผล แล้วไปโดนน้ำสกปรก กลายเป็นแผลลุกลาม ไปหาหมอต้องตัดก้อนเนื้อส่วนที่บวมทิ้ง จากเหตุแบคทีเรียกินขา

วันนี้ (8 ก.ย.66)  เป็นเรื่องราวที่ถูกแชร์ในโลกโซเชียล เมื่อผู้ปกครองได้แชร์ภาพเด็กหญิงอายุ 3 ขวบ เป็นแผลที่ขา ถูกตัดเนื้อจนแหว่ง 

ทีมข่าวติดต่อไปยังแม่ของน้อง 3 ขวบ เล่าว่า ประมาณเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว น้องโดนยุง เป็นตุ่มที่ขา ยิ่งคันยิ่งเกา และยิ่งเกา ก็กลายเป็นแผล  ต่อมาขาน้องที่เป็นแผล ไปโดนน้ำสกปรกตอนฝนตก ซึ่งผ่านไป 3 วัน จากแผลเกายุงกัด ก็ลุกลามใหญ่ขึ้น บวม และเป็นหนอง ขนาดประมาณเหรียญ 5 บาท  อาการน่าเป็นห่วง แม่ก็ไปซื้อยาตามร้านขายขา โดยเภสัชกรจ่ายยาฆ่าเชื้อให้ กินยามาสักระยะ ยังไม่หาย แม่จึงพาน้องไปโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย ขาน้องติดเชื้อมัยโครแบคทีเรีย หรือ เชื้อดื้อยา ลักษณะเหมือนแบคทีเรียกินเนื้อจนเป็นแผลลุกลาม  การรักษาไม่สามารถจ่ายยาฆ่าเชื้อได้ เพราะน้องได้กินไปแล้ว แต่ไม่หาย การรักษาที่ดีที่สุด ต้องผ่าตัดเอาก้อนเนื้อบริเวณดังกล่าวออก

อุทาหรณ์เรื่องนี้ สอบถามไปยังแพทย์หญิงทิราภรณ์ กาญจนพันธุ์ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ อาจารย์ประจำ รพ.วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช อธิบายว่า เชื้อมัยโคแบคทีเรีย พบได้ในน้ำสกปรก แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำฝน รวมถึงในดิน การติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีบาดแผลตามร่างกาย หากไปสัมผัสน้ำที่มีแบคทีเรีย ก็เสี่ยงอันตรายเหมือนกรณีดังกล่าว เพราะเกิดขึ้นได้ทุกวัย

เบื้องต้น หากเป็นตุ่ม ไม่คัน แล้วรู้สึกเจ็บ รักษาแล้วไม่หาย ให้สันนิษฐานว่าอาจติดเชื้อมัยโคแบคทีเรียได้ ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะหากทิ้งไว้นาน เชื้อจะแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน กระดูก และเส้นเลือด อันตรายถึงชีวิต

ทางด้านคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า “โรคผิวหนังติดเชื้อวัณโรคเทียม(Nontuberculous mycobacterial skin infection) เกิดจากการติดเชื้อมัยโคแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อวัณโรคและเป็นเชื้อที่พบได้ในสิ่งแวตล้อมทั่วไป เช่น ดิน น้ำ ฝุ่นละออง เป็นตัน เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ ทางเดินอาหารและการสัมผัสผ่านบาดแผลเข้าสู่ผิวหนัง โดยความรุนแรงและการกระจายของผื่นผิวหนัง รวมทั้งการติดเชื้อในระบบอื่นๆในร่างกายจะขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของผู้ป่วย

ในปัจจุบันพบอุบัติการณ์ของโรคผิวหนังติดเชื้อในกลุ่มวัณโรคเทียมเพิ่มสูงขึ้น โดยมีรายงานความสัมพันธ์กับการทำหัตถการทางผิวหนัง การผ่าตัดเสริมความงาม การสักที่ผิวหนัง การฝังเข็มและการดูดไขมัน และการมีบาดแผลที่มีการสัมผัสน้ำประปาหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง รวมไปถึงน้ำทะเล โดยสามารถพบการติดเชื้อได้ทั้งในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยากตภูมิต้านทาน ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เนื่องมาจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่ออินเตอร์เฟอรอนแกมมาของตนเอง (anti-IFN-gamma autoantibody) โดยลักษณะผื่นผิวหนังของโรควัณโรคเทียมมีได้หลายรูปแบบ เช่น แผลเรื้อรัง ฝื ผื่นหนาขรุขระ หรือก้อนใต้ผิวหนังโดยไม่มีรูปแบบจำเพาะเจาะจง ดังนั้นการวินิจฉัยจึงมีความยากลำบากและใช้เวลานาน

การวินิจฉัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การย้อมพิเศษเพื่อดูเชื้อแบคทีเรียชนิดทนกรด (Acid fast bacill) การเพาะเชื้อจากเนื้อเยื่อ หรือหนองที่ได้จากรอยโรค การตัดเชื้อเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาและการตรวจทางพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล (Molecular genetic methods) โดยวิธี Polymerase chain reaction (PCR)

การรักษาโรคนี้มีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1.การรักษาในรูปแบบยา โดยส่วนใหญ่แล้วโรควัณโรคเทียมมักไม่ตอบสนองต่อยาต้านวัณโรคและจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกันหลายชนิดมีทั้งยาชนิดรับประทานและชนิดฉีดทางหลอดเลือดดำขึ้นกับการกระจายของโรคและความรุนแรงของเชื้อโรค โดยแพทย์ผู้ดูแลจะปรับยาตามผลทดสอบการดื้อยาที่ตรวจได้จากห้องปฏิบัติการ สำหรับระยะเวลาในการรักษาโดยทั่วไป ประมาณ 3-6 เดือนหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเชื้อก่อโรคต่อยาปฏิชีวนะที่ได้รับ 2.การรักษาทางศัลยกรรม ได้แก่ การผ่าตัดเอาผิวหนัง บริเวณที่มีการติดเชื้อออก โดยเฉพาะหากมีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ในผิวหนังบริเวณรอยโรค เช่น มีประวัติการฉีดสารต่างๆเข้าสู่ผิวหนัง เพื่อเสริมความงามหรือมีการสักที่ผิวหนัง ซึ่งจำเป็นต้อง จัดสารตกค้างเหล่านี้ออกจากร่างกาย เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณของเชื้อโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง