โรค PTSD ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรง อิสราเอล-ปาเลสไตน์

โรค PTSD ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรง อิสราเอล-ปาเลสไตน์

View icon 231
วันที่ 12 ต.ค. 2566 | 16.08 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
โรค PTSD หรือ ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจ อาจเกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงสะเทือนจิตใจ สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือ ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย โรค PTSD เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย ผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม เช่น เหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ จ.หนองบัวลำภู เหตุก่อการร้าย การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

• อาการของโรค PTSD เริ่มแรกผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ กลายเป็นภาพหลอน ฝันร้าย และเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง จนเกิดอาการ flash back

• ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย  ทั้งโรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น

• การรักษาภาวะโรค PTSD มีหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย

1. เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น

2. ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม

3. รับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น

4. การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน

วิธีการรักษา "โรค PTSD" มี 5 วิธี คือ

1. ยอมรับตัวเอง ไม่ต้องกลัวการรักษาหรือคิดว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวชร้ายแรง

2. ทำจิตบำบัดในเชิงพฤติกรรมบำบัด เช่น ให้เผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัว เหตุการณ์ที่เคยหวาดกลัว ให้คนไข้ได้ปรับตัว หาทางที่จะควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง

3. ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ ฝึกลมหายใจ ฯลฯ

4. ทำกลุ่มบำบัด โดยนำบุคคลที่เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันมาพบกัน

5 .รักษาด้วยยาตามจิตแพทย์สั่ง

ดังนั้น เมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะโรค PTSD น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง