คุกคามทางเพศในสังคมไทย ชายเป็นใหญ่

View icon 72
วันที่ 1 พ.ย. 2566 | 11.16 น.
ห้องข่าวภาคเที่ยง
แชร์
ห้องข่าวภาคเที่ยง - ความเชื่อสังคมไทย ยอมให้ "ชายเป็นใหญ่" จึงเป็นต้นตอของการคุกคามทางเพศ มีซุกอยู่ทุกวงการ

เวทีเสวนา "คุกคามทางเพศกับนักการเมือง ผู้นำและอำนาจ" โดย อาจารย์ ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาการคุกคามทางเพศในไทย เป็นเรื่องที่ถูกเพิกเฉยมาเป็นเวลานาน เพราะสังคมไทย ไม่ได้สอนการสื่อสารเรื่องเพศ การเคารพในสิทธิเนื้อตัวของผู้อื่น และมองว่าเป็นเรื่องน่าอาย โดยเฉพาะผู้หญิงหากพูดเรื่องนี้จะถูกมองเป็นหญิงไม่ดี

ขณะเดียวกัน สังคมไทยให้บทบาทและอำนาจกับผู้ชาย จึงเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมตั้งแต่ต้น จนกลายเป็นทัศนคติชายเป็นใหญ่ รู้แค่ความต้องการของตัวเอง และนำมาสู่ผลลัพธ์ปลายทางคือการคุกคามทางเพศบุคคลอื่น

ด้าน อาจารย์ วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิง และความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา กล่าวว่า กรณีการร้องเรียนปัญหาคุกคามทางเพศ โดยผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นบ่อยในช่วงนี้ แต่โชคดีที่ปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนไปแล้ว โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเอง ไม่ยอมรับการคุกคามทางเพศ และไม่ยอมนิ่งเฉยอีกต่อไป "ใครทำผิด คนนั้นต้องรับผิดชอบ"

ข้อมูลจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เผลผลสำรวจการนำเสนอข่าวหนังสือพิม์ ปี 64 พบข่าวความรุนแรงทางเพศถึง 98 ข่าว เป็นข่าวข่มขืน 38.8 เปอร์เซนต์, ข่าวความรุนแรงทางเพศในครอบครัว 30.6 เปอร์เซนต์ ส่วนผู้กระทำ คือ คนรู้จักคุ้นเคย เช่น ครู เพื่อนบ้าน อดีตแฟน เพื่อนในวงเหล้า สูงสุดถึง 46.4 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็น คนในครอบครัว, บุคคลแปลกหน้า และคนรู้จักผ่านโซเชียล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง