ฟังหมอ ทุกหน่วยงานในไทยที่ยังหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า ต้องหยุดทำทันที หากไม่อยากให้ประเทศไทยเป็น อู่ฮั่น 2 พบมีบุคคลที่มีส่วนในการตัดต่อพันธุกรรมค้างคาว ที่เป็นต้นกำเนิดโควิด ฝังตัวมาทำงานในหน่วยงานที่สำคัญของไทย
วันนี้ (6 พ.ย.66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เตือนเกี่ยวกับ มหันตภัยเกิดจากการนำไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าออกมาและมีการตัดต่อพันธุกรรม โดยขอให้ทุกหน่วยงานในประเทศไทยทั้งหมด ที่ยังคงหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า ต้องยุติกิจกรรมดังกล่าวโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าเงินทุนจากต่างประเทศจะมากมายเพียงใดก็ตาม หรือจะให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสอง
และจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังมีการตั้งบุคคลที่มีการเปิดเผยว่ามีส่วนในการร่วมมือตัดต่อพันธุกรรมและกำเนิดโควิด ฝังตัวทำงานอยู่ในหน่วยงานองค์กรที่สำคัญของประเทศไทย
ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบันมีการสอบสวนและพบว่า หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ มีการให้ทุนมหาศาล ผ่านทางองค์กรเอกชน EcoHealth alliance และมหาวิทยาลัย ในสหรัฐ จนกระทั่งถึงสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น และหน่วยงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย และพบเงื่อนงำเบาะแสความเป็นไปได้ที่การตัดต่อพันธุกรรมจากไวรัสค้างคาวเป็นต้นเหตุของโควิด โดยในระยะแรกมีการปกปิดข้อมูลมาตลอดและขณะนี้มีการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสภาคองเกรสของสหรัฐ
ทั้งนี้ มีรายงานฉบับเต็มที่ออกมาจากสภาคองเกรสเรื่องเบาะแสของการตัดต่อพันธุกรรมและการรั่วออกมาของไวรัสจากห้องปฏิบัติการจนเกิดโรคระบาดโควิด รายงานฉบับเต็ม 302 หน้าเดือนมกราคม 2023
และมีการประมวลข้อมูลและหลักฐานจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการ หาเชื้อไวรัสที่ไม่ทราบชื่อจากค้างคาวและสัตว์ป่า รวมทั้ง เบื้องหลังที่มาที่ไปของการให้ทุนและการรับทุน (scrutiny behind the scene) ของ USAID NIAID และมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการแพร่ของเชื้อโรคอย่างไม่ตั้งใจทั้งในการปฎิบัติงานในบริเวณสำรวจและในสถานที่แลปตีพิมพ์ในวารสาร British medical journal 7 กันยายน 2023
บทความในวารสารนี้ยังอ้างอิงถึงข้อมูลที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ของเรา ที่ยุติการศึกษาวิจัยและความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าอบรมไวรัสสัตว์สู่คน ได้ทำการค้นหาไวรัสในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2000 จาก องค์กรให้ทุนประเทศไทย คือ สกว. และ สวทช และตั้งแต่ปี 2011 ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยงานของเพนตากอน
ศูนย์ได้ประกาศยุติการทำงานดังกล่าวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2018 และเด็ดขาดในปี 2020 โดยแจ้งให้หน่วยงานสหรัฐรวมกระทั่งถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากประเมินอันตรายที่ร้ายแรงอันอาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การลงพื้นที่จนกระทั่งถึงในห้องปฏิบัติการและนำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ไปยังชุมชนจนเป็นโรคระบาดทั่วประเทศ ประกอบกับเงื่อนงำของการเกิดโควิด
อีกประการที่สำคัญก็คือในปี 2019 เรื่อยมาจนถึง ตุลาคม 2020 มีการประชุมจัดโดยองค์กร EcoHealth alliance และให้ศูนย์เป็นหน่วยงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EID SE Asia research collaboration hub (EID Search) ภายใต้ สถาบันสหรัฐ NIAID และ EcoHealth alliance ชื่อว่า CREID (Centre for Research in EID) ในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าโดยเฉพาะไวรัสในตระกูลโควิด ไวรัสในตระกูลอีโบล่าและไวรัสในตระกูลไข้หวัดใหญ่และอื่นๆจาก ไทย ลาว มาเลเซีย ซาราวัค เป็นต้น โดยให้มีการส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศและระบุว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้จากหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ปรับแต่งพันธุกรรมเหมือนมนุษย์ และมีรายละเอียดความสำเร็จของการสร้างไวรัสตัวใหม่ที่สามารถเข้ามามนุษย์ได้ดีขึ้นและก่อโรคได้แล้ว และเป็นที่มาที่ศูนย์ยุติความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง
เหตุการณ์และหลักฐาน ยังปรากฏ ในบทความหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ โดยนักข่าว สืบสวน David Willman (investigative journalist รางวัลพูลิตเซอร์ ) ในวันที่ 10 เมษายน 2023 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน หลายประเทศ รวมทั้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคโรคอุบัติใหม่ ที่ยุติการรวบรวมตัวอย่างจากสัตว์ป่าและค้างคาว ถือว่าการหาเชื้อในคนถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดมากกว่าการหาไวรัสที่ไม่รู้จัก ที่จะมาคาดคะเนว่าจะเข้ามามนุษย์และจะเกิดโรคระบาดหรือไม่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอันตรายสูงสุดในการนำเชื้อจากสัตว์เข้ามามนุษย์ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง และการปฎิบัติในห้องแลป รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับไวรัสทั้งๆที่อุปกรณ์ป้องกันตัวอาจไม่ครบถ้วนและในประวัติที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทั้งห้องปฏิบัติการของศูนย์และของหน่วยงานสัตว์ป่าถูกค้างคาวกัด
จากการประกาศจุดยืนชัดเจน และยุติกิจกรรม
ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2023 หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) ที่ไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองใดๆ และทำหน้าที่ ในการตรวจสอบ การทำงานของหน่วยงานของสหรัฐในเรื่องการใช้งบประมาณรวมทั้งงบที่ให้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวได้ติดต่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ ซึ่งเป็น program leader ที่ได้ทุนจาก สหรัฐ และ เพนตากอนในประเด็นว่าได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ ได้ประโยชน์หรือไม่ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงมีการการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ในการค้นหาไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวในการที่จะได้รับเชื้อเข้ามาในมนุษย์ เข้ามาในห้องปฏิบัติการและกระจายออกสู่ชุมชนหรือไม่ และมีความพร้อมเพียงใดในการป้องกันทางชีวภาพในระดับบุคคลและห้องปฏิบัติการและการบริหารเมื่อเกิดมีบุคลากรเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
ทางศูนย์ สามารถสรุปได้ว่าการค้นหาไวรัสใหม่นั้นไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนการเกิดโรคอุบัติใหม่และไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติ และมาตรการในการรับมือกับการหลุดเล็ดรอดของเชื้อจะเป็นด้วยความยากมากในสถานภาพปัจจุบัน
นอกจากนั้นข้อที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ปี 2558 กรณีที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น นั่นก็คือ การรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการหรือจากห้องเก็บตัวอย่างและเกิดความเสียหายมีการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบซึ่งก็คือผู้รับผิดชอบโครงการหรือหัวหน้าศูนย์จะต้องได้รับโทษตามหมวดเก้าและหมวด 10 ของพระราชบัญญัติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีตั้งแต่ การจำคุก สองปีถึง 10 ปีและปรับ จากหลักแสนเป็นหลักหลายล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น