นาซาเผยภาพ ดาวพฤหัสบดีสีพาสเทล จับภาพได้ช่วงที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด

นาซาเผยภาพ ดาวพฤหัสบดีสีพาสเทล จับภาพได้ช่วงที่โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด

View icon 87
วันที่ 9 พ.ย. 2566 | 16.14 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ดาวพฤหัสบดีสีพาสเทล ที่นาซาได้เผยแพร่ออกมา บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ในโอกาสที่ดาวพฤหัสบดีโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

นาซา  วันนี้ (9 พ.ย.66) NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เผยว่า นาซาได้เผยแพร่ถ่ายภาพความละเอียดสูงของดาวพฤหัสบดี ในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เนื่องในโอกาสที่ดาวพฤหัสบดีโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี สีสันที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าเป็น ภาพถ่ายสีผสมเท็จ (False Color Image) เกิดจากค่าการสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลต ที่ไม่เท่ากันในแต่ละส่วนของดาวพฤหัสบดี

ยกตัวอย่างเช่น “จุดแดงใหญ่” ที่อาจจะปรากฏเป็นสีแดงในสายตามนุษย์ แต่ในภาพอัลตราไวโอเลตนี้ ปรากฏเป็นสีคล้ำ เนื่องจากอนุภาคเมฆที่อยู่บริเวณนี้สะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตได้น้อยกว่าบริเวณอื่น ส่วนเมฆบริเวณขั้วของดาวพฤหัสบดีที่ปรากฏเป็นสีแดงเนื่องจากอนุภาคบริเวณดังกล่าวสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตได้มากกว่าเล็กน้อย

ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างภาพดาวพฤหัสบดีในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการเคลื่อนที่ของชั้นเมฆบนดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์วางแผนที่จะสร้างแผนที่ชั้นเมฆ โดยใช้ข้อมูลของกล้องโทรทรรศอวกาศฮับเบิล เพื่อกำหนดโครงสร้างชั้นเมฆแบบ 3 มิติในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

ภาพถ่ายสีผสมเท็จเกิดจากการนำข้อมูลภาพถ่ายในช่วงคลื่นอื่น ๆ ที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ มาผสมรวมกันเป็นภาพเดียว ยกตัวอย่างเช่นภาพนี้เกิดจากการนำภาพถ่ายในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตที่แตกต่างกันมาผสมรวมกัน โดยกำหนดให้แต่ละสีแทนด้วยฟิลเตอร์ดังต่อไปนี้ สีน้ำเงิน (F225W) สีเขียว (F275W) และสีแดง (F343N)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง