สส.พรรคประชาชาติ สร้างสีสันแปลกตา ใส่ชุดมลายู เข้าสภาฯ

สส.พรรคประชาชาติ สร้างสีสันแปลกตา ใส่ชุดมลายู เข้าสภาฯ

View icon 384
วันที่ 4 เม.ย. 2567 | 14.40 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
สส.พรรคประชาชาติ พร้อมใจใส่ชุดมลายู เข้าสภาฯ ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้คงอยู่กับสามจังหวัดชายแดนใต้เนื่องจากใกล้วันฮารีรายอ

วันนี้ (4 เม.ย.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายรัฐบาลทั่วไปแบบไม่ลงมติวันที่สอง ปรากฏว่า สส.พรรคประชาชาติ ต่างพร้อมใจกันใส่ชุดมลายู เข้าประชุมสภาฯ วันสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุม เนื่องจากวันใกล้วันฮารีรายอ (วันเฉลิมฉลองหลังสิ้นสุดเดือนรอมฎอน) หรือ วันตรุษ อีดิลฟิตรี ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1445 ฮิจเราะห์ โดยการแต่งกายชุดมลายู นี้ เพจของพรรคประชาชาติ ระบุเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ประเพณีของพี่น้องชาวมลายู ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาวมลายูทั่วประเทศไทย

บทความบางส่วนของ ผุสดี หวันหวัง กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีการแต่งกายด้วยชุดมลายูเพื่อแสดงอัตลักษณ์มลายู 

โดยชุดมลายู ยังคงเป็นส่วนสำคัญของประเพณีและพิธีกรรมในชุมชนมลายู หากเราเคยเห็นวิถีชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ชุดมลายูมักจะถูกใส่ในงานพิธีกรรมทางศาสนาหรือมีการปรับปรุงตามท้องถิ่นและสถานการณ์ ดังนั้นการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของชุดมลายูเป็นตัวบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนมลายูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นชาวมุสลิมมลายูเป็นส่วนใหญ่ในพื้นที่นี่ มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกัน การสวมชุดมลายูเป็นสิ่งที่ร่วมสร้างความรู้สึกเชื่ออันหนึ่งในชนชาติมลายู และเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่อย่างยาวนาน ดังนั้น ความเชื่อและการสวมชุดมลายูเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายและวัฒนธรรมที่สำคัญในสามจังหวัดชายแดนใต้และเป็นส่วนที่รวมในการสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อร่วมกันในสังคม

ชุดมลายูแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันตามที่ประเทศแต่ละประเทศมีนโยบายและสภาพการณ์ทางสังคม รัฐบาลอาจส่งเสริมการสวมชุดมลายูเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกลุ่มชนที่แตกต่างกัน

การรักษาการแต่งกายชุดมลายูนั้น ความพิเศษของอัตลักษณ์มลายูว่าด้วยเรื่องการแต่งกาย  ความหมายของชุดมลายูเป็นคุณค่าทางจิตใจและจิตวิญญานของคนมลายูดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของชุดแต่งกายแบบผู้ชายและผู้หญิง จะสอดแทรกความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนาเหมือนเป็นสายใยสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับคนมลายูมุสลิมเข้าด้วยกัน เราอาจจะมีแนวคิด คำนิยาม ตีความที่แตกต่างและไม่เหมือนกันตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับและบริบทพื้นที่แวดล้อม ปัจจุบันเด็กและเยาวชน คนในพื้นที่ได้เข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุดมลายูและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้แต่งกายชุดมลายูเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่คงอยู่กับสามจังหวัดชายแดนใต้ตลอดไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง