เรือวิจัยทางทะเลพบหมึกยักษ์หายากยาวกว่า 75 เซนติเมตร ใต้ทะเลลึกในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ โดยหมึกยักษ์สายพันธุ์นี้ นับเป็นหนึ่งในหมึกยักษ์น้ำลึกที่ใหญ่ที่สุด และใช้การเรืองแสงในการล่าเหยื่อ
วันนี้ (17 พ.ค. 67) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย (UWA) และธรณีศาสตร์เคลพีในสหราชอาณาจักร เผยภาพหมึกยักษ์หายากใต้ทะเลลึกที่ถูกบันทึกภาพไว้ได้ ทางตอนเหนือของหมู่เกาะ"ซามัว" ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยเจ้าหมึกยักษ์ตัวนี้หนวดของมันสามารถเรืองแสงได้ เพื่อใช้ทำให้เหยื่อตกใจ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบว่า เป็นเหมือน "ไฟหน้า" นอกจากนั้น ตัวของมันมีความยาวประมาณ 2 ฟุตครึ่ง ซึ่งจุดที่พบอยู่ในระดับทะเลลึกประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งนี้ หมึกยักษ์สายพันธุ์นี้ นับเป็นหนึ่งในหมึกยักษ์น้ำลึกที่ใหญ่ที่สุด และใช้การเรืองแสงเพื่อล่าเหยื่อ
โดยเรือวิจัย RV Dagon ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Inkfish ไปยังร่องน้ำ Nova Canton ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ภารกิจคือการสำรวจและบันทึกความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของพื้นทะเลที่ระดับความลึกระหว่าง 3 - 8 กิโลเมตร