เจ้าหน้าที่ติดตั้งดาวเทียม บนหลังเต่าทะเล 11 ตัว เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางและพฤติกรรมการดำน้ำ

เจ้าหน้าที่ติดตั้งดาวเทียม บนหลังเต่าทะเล 11 ตัว เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางและพฤติกรรมการดำน้ำ

View icon 75
วันที่ 19 มิ.ย. 2567 | 10.58 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (19 มิ.ย. 67) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า วันที่ 16 มิ.ย. ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเต่าทะเลโลก” (World Sea Turtle Day) เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเต่าทะเล ปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมอนุรักษ์เต่าทะเล รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง

ทั้งนี้ ในน่านน้ำไทยพบเต่าทะเลมากถึง 5 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ (Chelonia mydas) เต่ากระ (Eretmochelys imbricata) เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) และ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta)

โดยปัจจุบันเต่ามะเฟืองได้รับการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าสงวน ส่วนเต่าทะเลอีก 4 ชนิด อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

6672578f9b1387.34631967.jpg

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมฯได้ติดตามและเก็บข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลไทยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561–2566 พบว่าการวางไข่ของเต่าตนุ และเต่ากระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเต่าหญ้ามีแนวโน้มลดลงพบการวางไข่น้อยมาก ซึ่งหากพบการวางไข่จะมีเพียง 1–2 รังต่อปี ส่วนเต่ามะเฟืองถึงจะมีแนวโน้มการวางไข่เพิ่มขึ้น บางปีก็จะไม่พบการวางไข่ เนื่องจากแม่เต่ามะเฟืองจะกลับมาวางไข่อีกครั้งหลังจากวางไข่ไปแล้วในช่วง 3–5 ปี

ในการนี้ กรม ทช. ได้จับมือองค์กรอัพเวลล์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากแคลิฟอร์เนีย เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟือง ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณระบุตําแหน่งผ่านดาวเทียมขนาดเล็กบนหลังเต่ามะเฟืองจากการอนุบาลที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จ.ภูเก็ต จำนวน 11 ตัว ผลจากการติดตามสัญญาณผ่านดาวเทียมแสดงถึงเส้นทางการเดินทางและพฤติกรรมการดำน้ำ

66725780e07b47.68247891.jpg

โดยพบว่าเต่าบางตัวอยู่ใกล้จุดปล่อย ขณะที่บางตัวเดินทางไปทางตะวันตกสู่หมู่เกาะอันดามัน และดูเหมือนจะวนเวียนอยู่ในวงแหวนมหาสมุทร และอีกตัวหนึ่งเดินทางไปทางใต้สู่เกาะสุมาตรา ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจในเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟืองหลังจากปล่อยจากบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนมาตรการในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง