มาถึงแล้ว “ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5” เตรียมจัดแสดงครั้งแรกในไทย เปิดให้ชมฟรีเริ่มวันนี้

มาถึงแล้ว “ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5” เตรียมจัดแสดงครั้งแรกในไทย เปิดให้ชมฟรีเริ่มวันนี้

View icon 270
วันที่ 22 ก.ค. 2567 | 16.18 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ครั้งแรกในไทย “ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5” จากปักกิ่งมาถึงไทยแล้ว เปิดให้ชมฟรี 22-28 ก.ค.นี้

วันนี้ (22 ก.ค.67) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ในที่สุด “หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน” 明月照我还 ก็เดินทางมาถึงเมืองไทยโดยสวัสดิภาพ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 21 ก.ค.2567 เตรียมพร้อมจัดแสดง ภายใน งาน อว. แฟร์ ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ค.67 เวลา 09.00-20.00 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP

“ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5” ที่นำมาจัดแสดงในงาน อว. แฟร์ มีชื่อว่า “หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน” เดินทางจาก Lunar Exploration and Space Engineering Center ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาถึงประเทศไทยเมื่อค่ำวันที่ 21 ก.ค.67 ภายใต้การดูแลของ น.ส.พสุภา ชินวรโสภาค อัครราชทูตที่ปรึกษา ฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง และ ดร.วิภู  รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

ตัวอย่างดินดวงจันทร์นี้ ได้ถูกนำไปจัดแสดงที่ปักกิ่ง นานจิง ไห่นาน และฮ่องกง ก่อนจะนำมาจัดแสดงที่ประเทศไทย ในงาน อว.แฟร์ นับเป็นการจัดแสดงครั้งแรกของหินดวงจันทร์ในต่างประเทศ

สำหรับใครที่อยากชม “ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ5” สามารถไปชมได้ที่บูธสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โซน F งาน อว. แฟร์ ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ค.67 เวลา 09:00-20:00 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า  เฉพาะวันที่ 22 ก.ค.67 เข้าชมงานได้ตั้งแต่เวลา 16:00-20:00 น.

ทั้งนี้ ดินตัวอย่างบนดวงจันทร์ที่นำมาจัดแสดงนี้มีชื่อว่า “หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน” มีความหมายว่า “ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน” ดินดวงจันทร์นี้มีน้ำหนัก 75 มิลลิกรัม ถูกจัดเก็บในคริสตัลทรงกลมรูปดวงจันทร์เต็มดวงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ทำจากกระจกพิเศษที่ใช้เป็นแว่นขยาย คริสตัลทรงกลมตั้งอยู่บนฐานคริสตัลทรงสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 3 ชั้น ที่หมายถึงการปฏิบัติภารกิจ 3 ขั้นตอนของยานฉางเอ๋อ ได้แก่ การโคจร การลงจอด และการส่งตัวอย่างกลับโลก

ฐานชั้นล่างสุดกว้าง 17 เซนติเมตร มาจากจำนวนปีของโครงการฉางเอ๋อที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 17 ปี ความสูงรวม 22.89 เซนติเมตร หมายถึงจำนวนวันปฏิบัติการตั้งแต่เดินทางจากโลกไปเก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์รวมทั้งสิ้น 22.89 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง