อันตรายจากเขียงพลาสติก

View icon 146
วันที่ 31 ก.ค. 2567 | 06.04 น.
เช้านี้ที่หมอชิต
แชร์
เช้านี้ที่หมอชิต - ใครที่ใช้เขียงพลาสติกต้องรู้ ทั้งหั่น ทั้งสับ อาจจะทำให้คุณกินไมโครพลาสติกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

เรื่องนี้มีการศึกษา และตีพิมพ์ลงวารสารในต่างประเทศ พบว่าเขียงพลาสติกที่ทำจาก PP และ PE จะเกิดการสึกกร่อน จากการถูกหั่น และสับด้วยมีดทุก ๆ วัน

ผลทดสอบพบว่า การทำอาหารแต่ละครั้ง เขียงพลาสติก สามารถปล่อยไมโครพลาสติกออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงในการสับ และความบ่อยครั้งของการใช้งานเพราะแบบนี้เอง รุ่นแม่ รุ่นยาย ถึงชอบใช้เขียงไม้กัน

และคนที่จะช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้อีกคน ทีมข่าวก็ไปถาม อาจารย์อ๊อด ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ยืนยันว่า มีงานวิจัยเรื่องนี้จริง ซึ่งเขียงพลาสติกมีอยู่ 2 ชนิด คือเขียงขาว (PP) และเขียงดำ (PE) พลาสติก 2 ชนิดนี้ เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) คือ บรรจุภัณฑ์ ที่ผลิตมาจากวัสดุที่ปลอดภัย ไร้สิ่งเจือปน ปลอดสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่เวลาหั่น หรือ สับอาหารไปเรื่อย ๆ จะผลิตไมโครพลาสติกออกมาน้อยว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กมาก สามารถเจือปนไปกับอาหารและกินเข้าไป ซึ่งแม้จะไม่ใช่พลาสติกที่ก่อมะเร็ง แต่เสี่ยงทำให้พัฒนาการล่าช้าและลดลง เพราะฉะนั้นใช้เขียงไม้ดีที่สุด

ฟังแบบนี้ ก็เบาใจตรงที่ไม่ได้ก่อมะเร็ง แต่ก็อาจถึงเวลาที่เราจะหันกลับไปใช้เขียงไม้ที่มาจากธรรมชาติ เพราะอย่างน้อยมีสิ่งเจือปนร่างกายก็ยังย่อยได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง