เร่งเครื่องตัดวงจร ปลาหมอคางดำ ผุดจุดรับซื้อ 73 จุดทั่วพื้นที่ระบาด

เร่งเครื่องตัดวงจร ปลาหมอคางดำ ผุดจุดรับซื้อ 73 จุดทั่วพื้นที่ระบาด

View icon 104
วันที่ 4 ส.ค. 2567 | 15.06 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (4 ส.ค. 67) จากการระบาดของปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นครปฐม และนนทบุรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยมุ่งเน้นไปที่ 7 มาตรการสำคัญ

โดยเฉพาะมาตราการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด และมาตราการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดได้ไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากขณะนี้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หลังจากการเปิดจุดรับซื้อเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา ยังมีชาวประมง และประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน ยังเกิดความไม่มั่นว่าจับแล้วจะนำไปขายที่ไหน และขายได้ 15 บาท/กก. จริงหรือไม่ จึงได้มอบหมายให้กรมประมงเร่งชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องจุดรับซื้อให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน

ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ เพื่อรับรายงานปัญหาจากจังหวัดและเร่งเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้เร็วที่สุด 

โดยกรมประมงได้มีการจัดตั้งจุดรับซื้อขึ้นทุกพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด จำนวน 73 จุด โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ส.ค. 67 ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีปริมาณรับซื้อปลาหมอคางดำไปแล้วกว่า 22,000 กก.

ทั้งนี้ กรมประมงขอความร่วมมือแจ้งแหล่งน้ำที่จับและเครื่องมือที่จับกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง