แจ้งเตือนรับมือ เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม

View icon 216
วันที่ 7 ก.ย. 2567 | 17.31 น.
เจาะประเด็นข่าว 7HD
แชร์
เจาะประเด็นข่าว 7HD - มีการแจ้งเตือนในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น จากการปรับระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 1,500-1,700 ลูกบาศก์เมตร

วันนี้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ยังคงระบายน้ำท้ายเขื่อนในอัตรา 1,498 ลูกบศก์เมตรต่อวินาที ด้าน นายนที มนตริวัติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท มีหนังสือสั่งการให้นายอำเภอและผู้อำนวยการท้องถิ่นทุกแห่ง gตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ หลังกรมชลประทาน แจ้งเตือนจะเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาแบบขั้นบันได ในอัตรา 1,500-1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 20-50 เซนติเมตร

ขณะที่เทศบาลตำบลสรรพยา ได้นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ไปติดตั้งบริเวณพนังกั้นน้ำ ที่หมู่ 4 หน้าวัดสรรพยาวัฒนาราม และ หมู่ 5 บ้านโพธิ์เตี้ย อำเภอสรรพยา เตรียมสูบน้ำออกจากพื้นที่ หากเกิดฝนตกหนัก หรือ มีน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลอดเข้าใต้พนังกั้นน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำท่วมชุมชน

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านพื้นที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และไหลเชี่ยวแรง ได้กัดเซาะแนวตลิ่งทรุดตัวยาวกว่า 20 เมตร ทำให้เจ้าหน้าที่กองช่างเทศบาลตำบลป่าโมก เร่งนำกระสอบทรายและเสาเข็มไม้สนปักแนวริมตลิ่งใกล้ชุมชนตลาดป่าโมก ด้านใต้ถนนคอนกรีตเลียบแม่น้ำ ให้มีความแข็งแรง เนื่องจากจุดดังกล่าวเป็นโค้งน้ำ ทำให้ถูกแรงน้ำกัดเซาะดินพังทลายลงได้ง่าย พื้นที่จังหวัดอ่างทอง มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมแล้ว 220 หลังคาเรือน

ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยายังต่ำกว่าตลิ่ง แต่พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ รอมแม่น้ำน้อย ในพื้นที่ ตำบลบ้านกระทุ่ม อำเภอเสนา กำลังเดือดร้อน ถูกน้ำท่วมขังสูงเกือบ 1 เมตร มานานเกือบ 1 สัปดาห์ ตอนนี้เริ่มส่งผลให้น้ำเริ่มเป็นสีดำเศษขยะรอยเกลื่อน เพราะไม่มีน้ำใหม่ไหลมาไล่น้ำเก่า สัตว์น้ำ ประเภท ปลานิล และ กุ้งฝอย ต้องลอยหัวขึ้นมาหายใจ

ไปทางภาคอีสาน ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเช้าวันนี้ที่บริเวณจุดวัดระดับน้ำบ้านพันลำ หมู่ 2 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ  ต่ำกว่าตลิ่ง 3 เมตร 30 เซนติเมตร ตลอดสัปดาห์นี้ระดับน้ำลดลงเกือบ 2 เมตร และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ขณะที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกาศ เฝ้าระวัง!!! ผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 7-12 กันยายน 2567 เนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ สปป.ลาว ส่งผลให้ ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ประมาณ 50 เซนติเมตร -1 เมตร 50 เซนติเมตร

เช่นเดียวกับที่จังหวัดนครพนม แม่น้ำโขงดลง พ้นจุดวิกฤติ แต่ลำน้ำอูน ลำน้ำยาม และลำน้ำสงคราม ถูกแม่น้ำโขงดันเข้าไปได้เอ่อล้นตลิ่ง ตอนนี้เริ่มระบายลงแม่น้ำโขงอย่างช้าๆ แต่ยังมีน้ำ เอ่อท่วมพื้นที่นาข้าวเกือบ 30,000 ไร่ เกษตรกร ได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ วัว ควาย นับ 1,000 ตัว ย้ายหนีน้ำไปอยู่บนที่สูง เริ่มแคลนอาหารหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพราะไม่สามารถปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติได้ บางรายต้องแบกค่าใช้จ่ายวันละ 500 -1,000 บาท ล่าสุดเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ระดมหญ้าแห้ง 1.5 ตัน ลงพื้นที่แจกจ่ายช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง