สถานการณ์น้ำ 19 ก.ย. 67 เวลา 07.00 น.

สถานการณ์น้ำ 19 ก.ย. 67 เวลา 07.00 น.

View icon 167
วันที่ 19 ก.ย. 2567 | 08.51 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
เฝ้าระวัง! สทนช. ติดตามระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเลย ห้วยหลวง แม่น้ำสงคราม แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด ใกล้ชิด รวมทั้งปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็ก

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันนี้ (19 ก.ย. 67)เวลา 7.00 น.

ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ลำปาง (159) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (64) 
ภาคกลาง : จ.ชัยนาท (93) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (96)  ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (62) ภาคใต้ : จ.พังงา (114)

สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 67% ของความจุเก็บกัก (54,299 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 52% (30,114 ล้าน ลบ.ม.) 

สถานการณ์น้ำท่วม : วันที่ 18 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และเมืองฯ) จ.สุโขทัย (อ.กงไกรลาศ) จ.พิษณุโลก (พรหมพิราม บางระกำ และเมืองฯ) จ.หนองคาย (สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ และรัตนวาปี) จ.อุดรธานี (อ.นายูง น้ำโสม หนองหาน เมืองฯ และ โคนสะอาด) จ. บึงกาฬ (โซ่พิสัย บึงโขงหลง เซกา พรเจริญ ปากคาด เมืองฯ บุ่งคล้า และศรีวิไล) จ.อ่างทอง (วิเศษชัยชาญ) จ.พระนครศรีอยุธยา (บางบาล บางปะหัน ผักไห่ เสนา พระนครศรีอยุธยา บางไทร และบางปะอิน) จ.ตรัง (เมืองฯ และวังวิเศษ) และ จ.สตูล (ควนโดน เมืองฯ ท่าแพ และมะนัง)

ประกาศ สทนช. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 19 - 25 ก.ย. 67 ดังนี้

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร..นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80

เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเลย ห้วยหลวง แม่น้ำสงคราม แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด

ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) จัดตั้งคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือฯ เพื่ออำนวยการบริหารสถานการณ์ให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นศูนย์แบบเบ็ดเสร็จ ในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบรูปแบบรายงานการติดตามสถานการณ์ โดยให้ทุกหน่วยงานรายงานสถานการณ์ประจำวันส่งเข้าไลน์กลุ่มคณะทำงานก่อนเวลา 12.00 น. ของทุกวัน และเห็นชอบแนวทางการจ่ายเงินเยียวยา ในกรณีพิเศษ และมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า

66eb84a39d8941.94110991.jpg