ตลอดจนกระตุ้นเตือนและสร้างความตระหนัก ให้ประชาชนและสังคมเห็นความสำคัญของโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของสตรีไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สตรีไทยมีโอกาสตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ที่ผ่านมา มีสตรีไทยได้รับการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก 545,275 คน ผู้มีปัจจัยเสี่ยงได้รับการเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่อง Mammogram และ Ultrasound 144,140 คน พบความผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม เนื้องอกหรือถุงน้ำ 25,333 คน พบความผิดปกติที่สงสัยเป็นมะเร็งเต้านม 12,573 คน และพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก 4,644 คน สามารถประหยัดงบประมาณทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการรักษาพยาบาลได้หลายล้านบาท
โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ Mammogram ในสตรีกลุ่มเสียงและด้อยโอกาส 4 หน่วย 4 ภาค ทั่วประเทศ" เฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้บริการตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน มีเป้าหมายคัดกรอง ตรวจค้นหา ผู้มีปัจจัยเสี่ยงในกรุงเทพมหานคร 2 หมื่นคน
โดยการเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม พร้อมทำอัลตร้าซาวด์ 7,200 คน คาดว่าจะพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกประมาณ 80 คน หากมีการตรวจพบแต่แรก การวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมและรวดเร็ว ก็มีโอกาสสูงที่จะหายขาดได้ โดยจะส่งต่อเข้ารับการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเปิดโครงการฯ ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 และจะให้บริการตรวจคัดกรองไปจนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ก่อนจะออกไปให้บริการในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานคร ต่อไป