เตือน  21 - 23 ต.ค. เฝ้าระวัง ภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

เตือน 21 - 23 ต.ค. เฝ้าระวัง ภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

View icon 65
วันที่ 21 ต.ค. 2567 | 15.42 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ศปช.เตือน 6จังหวัดกลาง  5ตะวันออก  6ภาคใต้  4เหนือ และ1อีสาน ติดตามเฝ้าระวัง ภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 21 - 23 ตุลาคม คาดส่งมอบพื้นที่เมืองเชียงรายคืนประชาชน 28 ต.ค.นี้ เพื่อเตรียมพื้นที่รับนักท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว

วันนี้ (21 ตุลาคม 2567) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้า เตือนพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ของกรมทรัพยากรธรณีในช่วงวันที่ 21 - 23 ตุลาคม 2567 ในพื้นที่ดังนี้ ได้แก่

ภาคกลาง : กาญจนบุรี นครนายก สระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ภาคตะวันออก : ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจันทบุรี

ภาคใต้ : ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต

ภาคเหนือ : อุทัยธานี ตาก ลำปาง และเชียงราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นครราชสีมา

ในส่วนกรมชลประทาน ประกาศพื้นที่เสี่ยงบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราว และบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร ในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังระดับน้ำจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในระยะนี้ ไปจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2567

สำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 เขต 8 เขต 9 เขต 10 เขต 11 และเขต 15 ได้ดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานเคลียร์พื้นบริเวณที่เกิดดินโคล่นในพื้นที่เขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล โดยที่ประชุม ศปช. ได้รับการรายงานจากทางด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัยว่า ได้มีการดำเนินการแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนของพื้นที่อำเภอแม่สาย อยู่ในการดำเนินการ 99.76  ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบและเก็บตกบริเวณพื้นที่บริเวณโดยรอบ  โดยได้มีการประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการ ศปช.ส่วนหน้า จะดำเนินการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กับทางอำเภอเมืองเชียงรายและเทศบาลเชียงรายได้ในภายในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ เพื่อดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ท่องเที่ยว ร้านค้าต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว

จากสถานการณ์บริเวณฝนตกสะสมพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่จุดเสี่ยงเฝ้าระวัง ที่ประชุม ศปช. ได้มีข้อสั่งการให้ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานหลักในการประสาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการบูรณาการทำงานเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล เครื่องมือและบุคลากร ในการเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ฝนตกสะสมและพื้นที่จุดเสี่ยงทางภาคใต้ที่อาจเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ พร้อมรายงานให้ที่ประชุม ศปช. ทราบโดยเร็ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง