พม. ลงพื้นที่ทันทีในจังหวัดน้ำท่วม เร่งช่วยคนกลุ่มเปราะบาง

พม. ลงพื้นที่ทันทีในจังหวัดน้ำท่วม เร่งช่วยคนกลุ่มเปราะบาง

View icon 15
วันที่ 29 พ.ย. 2567 | 10.34 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
พม. ลงพื้นที่ช่วยกลุ่มเปราะบางกว่า  2 พันครัวเรือน มอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร บรรเทาความเดือดร้อน พร้อมเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวดูแล อย่างใกล้ชิด

วันนี้ ( 29 พ.ย.67) ที่ นายนิกร จำนง ประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยรายงานการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจาก ทีม พม.จังหวัดในพื้นที่น้ำท่วมใต้ตอนล่าง ว่า ข้อมูลวันที่ 28 พ.ย.67 ผลกระทบจากภัยพิบัติ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี นครศรีธรรมราช มีกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ 2,068 ครัวเรือน จำนวน 32,927 ราย ประกอบด้วยเด็กเล็ก 2,761 ราย เด็กและเยาวชน 4,618 ราย คนพิการ 79 ราย ผู้สูงอายุ 5,511 ราย วัยแรงงาน(กลุ่มเปราะบาง) 19,958 ราย อย่างไรก็ตามผลกระทบที่มีต่อกระทรวง พม. เอง ในเบื้องต้นหน่วยงานของ พม. ที่ได้รับผลกระทบ ที่จังหวัดยะลา หน่วยงาน 4 แห่ง เจ้าหน้าที่ 43 คน อพม. 1,030 คน ที่จังหวัดนราธิวาส หน่วยงาน 3 แห่ง เจ้าหน้าที่ 82 คน อพม. 77 คน จังหวัดปัตตานี อพม. 115 คน

โดย พม. เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดตั้งโรงครัว มอบเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น มอบชุดเครื่องนอนให้กับผู้สูงอายุ จัดทำถุงยังชีพแจก ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำสิทธิสวัสดิภาพ เพื่อดำเนินการวางแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ขณะเดียวกันบูรณาการงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการอพยพกลุ่มเปราะบางเข้าศูนย์พักพิงและดูแลจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น จัดกิจกรรมสันทนาการสร้างความผ่อนคลาย ดำเนินการประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้อพยพกลุ่มเปราะบางเข้าศูนย์พักพิง ประสานกับหน่วยงานในการขอรับสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคอาหารเครื่องดื่ม และสิ่งเครื่องใช้จำเป็นในการดำรงชีพ ประสานโรงพยาบาลในการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพให้แก่กลุ่มเปราะบาง

ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของกระทรวงพม. คือแผนก่อนเกิดภัย โดยจัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัย จัดทำแผนเผชิญเหตุและซักซ้อมการเตรียมการอพยพกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงพม. และภาคีเครือข่าย ในการเฝ้าระวังภัยและแนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง สื่อสารสาธารณะเพื่อเตือนภัยให้แก่กลุ่มเปราะบางผ่านช่องทางออนไลน์และเครือข่าย

แผนขณะเกิดเหตุ จัดเตรียมทีมสอบข้อเท็จจริง คัดกรองและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กเยาวชนคนพิการผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อยเป็นการเฉพาะหน้า สำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินการรูปแบบทีมสหวิชาชีพ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยจัดทีมนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาลงพื้นที่ ติดตามการช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นรายกรณี สอบถามความต้องการปัญหาและอุปสรรครวมถึงการสื่อสารสาธารณะให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ

แผนฟื้นฟู คือการติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือ ฟื้นฟูอาชีพ การมีรายได้และมีงานทำ สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพของกลุ่มเปราะบาง ปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้มั่นคง พัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในห้ามิติและบันทึกข้อมูลในระบบ การสื่อสารสาธารณะช่องทางการให้บริการแก่ผู้ประสบภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง