“ธรณ์” คาดปลาปริศนากัดนักท่องเที่ยว เล่นน้ำหาดนางทอง คือ “ฉลาม” ลักษณะไม่กัดซ้ำ เชื่อแค่เข้าใจผิด ขออย่ากังวล

“ธรณ์” คาดปลาปริศนากัดนักท่องเที่ยว เล่นน้ำหาดนางทอง คือ “ฉลาม” ลักษณะไม่กัดซ้ำ เชื่อแค่เข้าใจผิด ขออย่ากังวล

View icon 256
วันที่ 30 พ.ย. 2567 | 11.03 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“ธรณ์” แนะทางการแจ้งประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว เพิ่มความระวัง หลังเชื่อรอยฟันปริศนา กัดนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเล่นน้ำ “หาดนางทอง” คือ “ฉลาม”

จากการกรณีจังหวัดพังงา ได้รับรายงานจากอำเภอตะกั่วป่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 เวลา 11.00 น. ว่า มีนักท่องเที่ยวหญิงวัย 57 ปี ชาวเยอรมัน โดนปลาไม่ทราบชนิดกัดบริเวณขา ได้รับบาดเจ็บเป็นแผลฉีกขาด ขณะลงไปเล่นน้ำทะเล ที่ความลึกประมาณ 1.50 เมตร จุดเกิดเหตุบริเวณ หาดนางทอง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตนั้น

และ กลางดึกวันเดียวกัน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ได้เห็นภาพบาดแผลของนักท่องเที่ยวแล้ว คาดว่า  เป็นรายปากของฉลาม  ลักษณะกัดครั้งเดียว ไม่ไดฟัด หรือ กัดซ้ำ หรือ กินเนื้อเข้าไป คาดเป็นลักษณะของการเข้าใจผิด เมื่อรู้ว่าไม่ใช่เหยื่อตามธรรมชาติ จึงปล่อยไป ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ฉลามตั้งใจล่าคน จึงขอให้ทางการเยียวยานักท่องเที่ยว และ ประชาสัมพันธ์ให้ระวัง ซึ่งทราบว่าทางการได้ทำอยู่แล้ว ใจความสำคัญส่วนหนึ่งของโพสต์ดังกล่าว มีดังต่อไปนี้


“มีข่าวนักท่องเที่ยวโดนสัตว์ทะเลกัดที่แถวเขาหลัก จึงอยากเล่าให้เพื่อนธรณ์ทราบ ผมเห็นภาพบาดแผลแล้ว แต่ไม่ได้นำมาให้ดู แต่คิดว่าเป็นรอยปากของฉลาม

แผลที่กัดต่ำกว่าเข่า นักท่องเที่ยวอยู่ในน้ำตื้น 1.5 เมตร แปลว่าฉลามว่ายเลียบพื้นเข้ามา แล้วเห็นขาขยับไปมา อาจนึกว่าเป็นเหยื่อ รอยกัดมีครั้งเดียว ไม่ได้ฟัดหรือกัดซ้ำหรือกินเนื้อเข้าไป อาจเป็นเพราะฉลามรู้ว่าไม่ใช่เหยื่อตามธรรมชาติ จึงปล่อยแล้วว่ายไป ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ฉลามตั้งใจล่าคน แต่เป็นเพราะเข้าใจผิด

ในอดีต เมืองไทยเคยมีเหตุการณ์คล้ายกัน เช่น ภูเก็ต หนนั้นก็กัดขาเช่นกัน น่าจะเป็นฉลามหัวบาตร แต่อาจเป็นฉลามครีบดำที่มีขนาดใหญ่ก็เป็นได้ ไม่มีข่าวว่าฉลามโจมตีคนถึงแก่ชีวิตในเมืองไทยเกือบ 60 ปี หนสุดท้ายที่มีหลักฐานยืนยันคือนายแฉล้ม ก่อนผมเกิด

มีข่าวฉลามกัดเป็นระยะ ทุก 3-5 ปี แต่ไม่เคยมีการกัดซ้ำ และไม่เคยมีการเกิดหนสองในพื้นที่เดิมในระยะเวลาใกล้ๆ (หรือนานกว่านั้นก็ไม่เคยซ้ำ) จึงไม่ต้องกังวลมากมาย และไม่ต้องคิดไปล่าฉลาม เพราะฉลามในเมืองไทยก็ใกล้จนหมดทะเลอยู่แล้ว ถูกจับกินหมด

ฉลามมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ เป็นผู้ล่าสูงสุด ผู้ดูแลสมดุล โดยเฉพาะเมื่อทะเลทรุดโทรมจากโลกร้อน ฉลามยิ่งทวีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของระบบนิเวศ

แต่เราควรเยียวยานักท่องเที่ยวรายนั้น และประชาสัมพันธ์ให้ระวังไว้นิด เป็นเรื่องที่ควรทำ (และทราบว่าทำแล้วครับ) นำภาพฉลามครีบดำที่ผมถ่ายจากมัลดีฟส์มาให้ดู ผมเจอฉลามเป็นร้อยๆ ครั้ง (สมัยอยู่ออสเตรเลียเจอเยอะมาก ในมัลดีฟส์ก็เยอะ) ไม่เคยมีหนไหนที่ฉลามคิดทำร้ายผม

แต่ก็ระวังไว้หน่อย ทะเลเป็นบ้านของฉลาม เราลงไปในนั้น เราควรเคารพเจ้าของบ้าน และระมัดระวังในการพบเจอทุกครั้งครับ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง