อาชีพสื่อมวลชน มีผลสำรวจว่า ยิ่งสถานการณ์ในประเทศหนักหน่วงเท่าไหร่ อาชีพนักข่าวก็จะหนักตามไปมากขึ้นทวีคูณ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ เวลาพักผ่อนน้อย กินอาหารไม่ตรงเวลา ความเครียดสูง ไม่มีวันหยุดที่แน่นอน วันหยุดน้อยกว่า 2 วันต่อสัปดาห์ ส่งผลให้เกิดความเครียด และมีโรคประจำตัว
20 ธันวาคม 2567 รศ.ดร.ณัฐนันท์ ศิริเจริญ เลขาธิการมูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะของสื่อมวลชนไทย ปี 2567 โดยมีการสอบถามกลุ่มตัวอย่างสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 372 คน แบ่งเป็นเพศชาย 61% เพศหญิง 38.0% เพศทางเลือก 1%
สื่อมวลชนทำงานหนักมากน้อยแค่ไหน ผลสำรวจพบว่า
44.09% ทำงาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
19.35% ไม่มีความแน่นอนในชั่วโมงทำงาน
13.98% ทำงาน 9-10 ชั่วโมงต่อวัน
8.60% ต้องทำงานมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน
นอกจากนั้นยังพบว่า
41.94% ไม่มีวันหยุดที่แน่นอน
31.18% หยุด 2 วันต่อสัปดาห์
10.75% หยุด 1 วันต่อสัปดาห์
8.60% ไม่มีวันหยุดเลย
2.คำถามเรื่องโรคประจำตัว
56.99% ไม่มีโรคประจำตัว
43.01% มีโรคประจำตัว
3.ปัญหาความเครียดจากการทำงาน
41.13% มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย
23.39% มีความเครียดปานกลาง
18.28% ไม่เครียด
5.38% เครียดมาก
สรุปสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของสื่อมวลชนไทย ปี 2567 จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า สื่อเป็นอาชีพที่ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน,ไม่มีวันหยุดที่แน่นอน และยังพบว่า อาชีพนี้ 7 ใน 10 คน มีความเครียดสูง และเสี่ยงต่อการป่วยโรคกลุ่ม NCDs หรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง และส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยเฉพาะมีสื่อโทรทัศน์ ที่ทำงานตั้งแต่ตีหนึ่งถึงเช้า เพื่อเตรียมรายการข่าวเช้าของแต่ละสถานี เชื่อว่ามีไม่ต่ำกว่า 100 คน ที่มีปัญหาสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่อยู่ใกล้เส้นแดง ของโรคซึมเศร้า
ส่วนปีหน้า สื่อออนไลน์ จะประสบกับความยากลำบากมากขึ้น ถือเป็นภาวะฟองสบู่แตกของสื่อออนไลน์ ไม่ต่างจากสื่อกระแสหลัก และสื่อทีวีดิจิทัลที่จะล้มหายไปอีกมาก และยิ่งปีหน้า สภาพสังคมไทย ยิ่งมีความเสี่ยงด้านสุขภาพเยอะ สุขภาวะของสื่อมวลชนก็จะหนักขึ้นอีก เพราะนอกจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนตัวของตนเอง แล้วยังต้องรับมือกับปัญหาทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานที่จะต้องเผชิญกับความเครียดมากขึ้นเป็นทวีคูณ ตามความคาดหวังของประชาชน