สนามข่าว 7 สี - เรื่องที่ "ทนายแจม" จากพรรคประชาชน โพสต์ข้อความเกี่ยวกับตำรวจเก็บค่าคอร์ส 38,000 บาท แล้วจะได้รับการอบรมเป็นอาสาตำรวจอาสา ได้ข้อสรุปแล้วว่ามาจากไหน แต่ที่ยังไม่แน่ใจ คือการอบรมนี้ ทำอย่างถูกต้อง หรือไม่กันแน่
"ทนายแจม" แฉอบรมตำรวจอาสา เก็บเกือบ 4 หมื่นบาท
หลังจากที่ นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ หรือ ทนายแจม สส.พรรคประชาชน ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กรณีโพสต์ข้อความลง "เอ็กซ์" หรือ ทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่ามีตำรวจนายหนึ่งส่งข้อมูลนี้มาให้ ว่ามีการอบรมอาสาตำรวจ แต่คนที่อบรมเป็นคนจีน มีการคิดค่าอบรมชาวจีน เก็บค่าคอร์สคนละ 38,000 บาท เลยตั้งทำให้เกิดข้อสงสัยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำแบบนี้ได้เหรือเปล่า แล้วค่าแรกเข้าอบรมนี้เป็นรายได้เข้าส่วนไหน ? , ค่าใช้จ่ายจัดอบรมใช้งบประมาณส่วนใด ? , มีการใช้เครื่องหมายตำรวจตราแผ่นดิน ออกบัตรได้หรือไม่ ?
ที่น่าตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือหลักสูตรอบรม ที่เมื่อตรวจสอบเอกสารการอบรมดังกล่าว ระบุว่ามีตำรวจผู้เชี่ยวชาญ มาอบรมรหัสการสื่อสารรับส่งเครื่องวิทยุให้, มีการสอนวิธีใช้ปืน ทั้งหมดใช้เวลาอบรมเพียง 3 วัน จะได้พร้อมมอบใบรับรอง (มีอายุ 2 ปี) พร้อมประกาศนียบัตร "อาสาตำรวจจราจร" รุ่นที่ 1, เสื้อกั๊กตำรวจ 1 ตัว, เสื้อสะท้อนแสง 1 ตัว
และที่ดูเหมือนยังพบข้อพิรุธ อยู่ตรงหัวเอกสาร กลับระบุหน่วยงานว่า ระบุชื่อ "สำนักงานสืบสวนกลาง กองบังคับการนครบาล ภาค 3" พร้อมตัวย่อ "CIB" (ซึ่งถ้าเอาตามชื่อนี้ ก็ต้องบอกว่า หน่วยงานนี้ไม่มีอยู่จริง)
เคลียร์กันทีละเรื่องหลังกลายเป็นประเด็น กองบัญชาการตำรวจนครบาล ชี้แจงผลการตรวจสอบกรณีข่าวว่า การอบรมดังกล่าว ว่าเป็นของ "มหาวิทยาลัยสยาม" ที่จัดอบรมขึ้น เพื่อช่วยให้นักศึกษาต่างชาติได้รู้ภัยอาชญากรรม และการป้องกันตนเอง โดยมีการประสานขอความร่วมมือกับตำรวจนครบาล 3 เป็นที่ปรึกษา แนะนำให้ความรู้
เรื่องส่วนใบประกาศนียบัตร ทราบว่าเป็นการดำเนินการของทางมหาวิทยาลัย ส่วนในเรื่องางมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการเอง แต่กลับมีการลงชื่อของ "ผู้กำกับการสืบสวน" หรือนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไปใช้ ได้สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว
ส่วนเรื่องโลโก้ "CIB" มีการออกเอกสารชี้แจงมาจาก กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอบรม หรือและไม่มีการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ในโครงการอบรมดังกล่าว ด้วย
ใน รายการถกไม่เถียง เมื่อวาน ก็มีการนำประเด็นนี้มาพูดคุยกัน มีการเชิญ รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล หรือ อาจารย์โต้ง นักอาชญวิทยา มหาวิทยาลัยรังสิต และ พันตำรวจเอก วิรุฒน์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม มาร่วมวิเคราะห์เชิญผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เรื่องนี้ มาพูดคุยกัน
ที่น่าสนใจอยู่ที่การโฟนอินในรายการ มีการยืนยันข้อเท็จจริงจากปากของคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลายคน อย่าง นายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสยาม บอกว่า จริง ๆ หลักสูตรเรื่องการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมาย มีมานานแล้ว (ตั้งแต่สมัย พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
และจุดที่มีข้อพิรุธ ก็อยู่ตรงหัวกระดาษทั้ง 2 จุดนี้ เพราะมหาวิทยาลัยไม่มีเลขรับหนังสือ และที่อยู่ที่เขียนแบบนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับที่ ตัวแทนของมหาวิทยาลัย อีกคน ที่ตั้งข้อสังเกตเหมือนกัน แต่กรณีนี้พบพิรุธ คือ หน้าตาเอกสาร ไม่มีเลขรับหนังสือของมหาวิทยาลัย
ว่าหากเป็นการออกเอกสารใด ๆ จะต้องเป็นการออกผ่าน สำนักอธิการบดี และเอกสารหน้าตาแบบนี้จึงเชื่อว่า ไม่ใช่เอกสารทางการของมหาวิทยาลัย จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีการดำเนินการโดยการกระทำส่วนตัว หรือพลการ เพียงแต่ตอนนี้ยังตรวจสอบไม่ได้ จนกว่าจะถึงวันเปิดทำการคือสัปดาห์หน้า
พันตำรวจเอก วิรุฒน์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม บอกว่า การอบรมนี้มีเงื่อนงำหลายประเด็น เช่น การจัดอบรมอาสาตำรวจ ปกติเจ้าภาพหลักต้องเป็นตำรวจ เชิญวิทยากรจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 3 ไปให้ความรู้ ส่วนการเก็บค่าอบรม เป็นไปได้ยาก ถ้ามีการเก็บเงินจริง ตำรวจที่เป็นวิทยากร อาจเข้าข่ายกระทำผิดวินัย
อีกคน คือ ด้านนายหลี่ชาง ผู้ประสานงานนักศึกษาจีน ซึ่งเป็นผู้จัดการอบรม ได้โฟนอินเข้าไปตอบคำถามในรายการ ยอมรับว่ามีการอบรมโครงการการนี้จริง มีจัดอบรมดังกล่าว ชี้แจงว่า วัตถุประสงค์ของการอบรมเพื่อให้นักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนได้รู้กฎหมายไทย โดยมีการใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยสยาม ในการอบรมเพียงครึ่งวัน จากนั้นก็ไปใช้สถานที่ด้านนอกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ยืนยันว่าไม่มีการเรียกเก็บเงินแต่อย่างใด หมวก เสื้อกั๊ก อ้างว่าไม่ใช่ของที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ และนอกจากรุ่นที่ 1 แล้ว ยังไม่มีการเตรียมจัดการอบรมรุ่นที่ 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ตามที่เป็นข่าวก็บค่าคอร์สอบรม
บช.น.สั่งสอบคอร์สอบรมอาสาตำรวจ
ด้านล่าสุด ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 เป็นอีกคนที่โฟนอินไปไขข้อข้องใจ ยืนยันว่าได้สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไปแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นได้สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง คาดว่าไม่เกิน 3 วัน จะพอสรุปข้อเท็จจริงในเบื้องต้นได้ ส่วนเรื่องได้ข้อสรุป ส่วนการอบรมอาสาตำรวจอาสาที่เป็นคนต่างชาติ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ เพียงแต่มีเงื่อนไขหลายข้อ ทั้งต่างชาติ สามารถทำได้ เพียงแต่มีเงื่อนไขหลายข้อ จึงไม่ค่อยมีการอบรม
ขอบคุณภาพจาก : Twitter Sasinan Thamnithinan (JAM)