กรมอุทยานฯ จัดประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาช้างป่า เตรียมทดลองฉีดวัคซีนคุมกำเนิดช้างป่าต้นปี

กรมอุทยานฯ จัดประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาช้างป่า เตรียมทดลองฉีดวัคซีนคุมกำเนิดช้างป่าต้นปี

View icon 41
วันที่ 17 ม.ค. 2568 | 15.25 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วันนี้ (17 ม.ค. 68) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า รวมถึงการควบคุมกำเนินช้างป่า โดยมีตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารอบพื้นที่อนุรักษ์ และตัวแทนนักวิชาการเข้าร่วมรับฟังกว่า 300 คน

ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรช้างป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติราว 4 พันตัว และอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ 91 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดคือกลุ่มป่าตะวันตก ตะวันออก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ภูเขียว-น้ำหนาว และแก่งกระจาน อีกทั้งปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ส่งผลกระทบต่อประชาชนใน 42 จังหวัด

โดยตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มีผู้เสียชีวิตจากช้างป่าจำนวน 240 ราย บาดเจ็บ 208 ราย และยังสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและพืชผลจำนวนมาก

ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ จึงวางแผนเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่า ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย

1.การพัฒนาพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2.การสร้างแนวป้องกันช้างป่า
3.การจัดตั้งชุดเฝ้าระวังและเครือข่ายชุมชน
4.การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
5.การจัดการพื้นที่รองรับช้างป่า
6.การควบคุมประชากรช้างป่าด้วยวัคซีนคุมกำเนิด

ซึ่งในปี 2567 กรมอุทยานฯ ได้ร่วมมือกับศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาวัคซีนคุมกำเนิด "SpayVac" (สเปย์แวค) ที่เคยใช้กับช้างแอฟริกา และได้เริ่มทดลองฉีดวัคซีนให้กับช้างป่าเพศเมีย 7 เชือก ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2567 พบว่าปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและสีระของช้าง อีกทั้งยังสามารถควบคุมการสืบพันธุ์ได้ยาวนานถึง 7 ปี ส่วนไทม์ไลน์ในปี 2568

กรมอุทยานฯ จะเริ่มทดสอบฉีดวัคซีนให้กับช้างป่าเฉพาะกลุ่มตั้งแต่ต้นปี แต่จะต้องมีการประชุมหารือพิจารณาและกำหนดกลุ่มช้างที่เหมาะสมในการทดลอง เนื่องจากมีวัคซีนจำกัด และหากวัคซีนมีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็จะมีการพิจารณาในการฉีดวีคซีนแบบเต็มรูปแบบต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง