ไทยฝุ่นพิษแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ไทยฝุ่นพิษแนวโน้มเพิ่มขึ้น

View icon 289
วันที่ 20 ม.ค. 2568 | 07.52 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
กทม. ฝุ่นพิษหนาแน่น  อยู่ในอันดับที่ 17 เมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุดอีกแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง

วันนี้ (20 ม.ค.68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก เวลา  07.30 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5  พบว่า กทม. ค่าฝุ่น PM2.5  อยู่ในระดับสี ของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ระดับมลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อทุกคน  มีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกบ้าน ปิดหน้าต่าง สวมหน้ากากภายนอกบ้าน และ เปิดเครื่องฟอกอากาศ

อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุดคือ
1 นครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม
2 สมุทรสาคร, จังหวัดสมุทรสาคร
3 Bang Bon, กรุงเทพฯ
4 ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี
5 บางกรวย, จังหวัดนนทบุรี
6 คลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี
7 Thawi Watthana, กรุงเทพฯ
8 Khlong Nueng, Pathum Thani
9 ปทุมธานี, จังหวัดปทุมธานี
10 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

678da0a8324963.13614559.jpg

ด้านศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร เวลา 07:00 น.ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 54.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตหนองแขม 71.9 มคก./ลบ.ม.
2 เขตภาษีเจริญ 66.7 มคก./ลบ.ม.
3 เขตคลองสามวา 65.5 มคก./ลบ.ม.
4 เขตหนองจอก 64 มคก./ลบ.ม.
5 เขตบางขุนเทียน 62.6 มคก./ลบ.ม.

โดย

1 กรุงเทพเหนือ 46.6 - 61.1 มคก./ลบ.ม.ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

2 กรุงเทพตะวันออก 46.9 - 65.5 มคก./ลบ.ม.ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

3 กรุงเทพกลาง 44.8 - 53.6 มคก./ลบ.ม.ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

4 กรุงเทพใต้ 38.3 - 57.2 มคก./ลบ.ม.ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

5 กรุงธนเหนือ 50.1 - 62 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

6 กรุงธนใต้ 51.9 - 71.9 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

678d9f5077ad47.54440072.jpg

ข้อแนะนำสุขภาพ

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุ สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การระบายของอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี-อ่อน” และลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับเกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด คาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง