“หมอสุรัตน์” เตือนนอนน้อย ตายเร็ว สมองเสื่อม แนะ 3 วิธี ไม่ให้สมองเหี่ยวเร็ว

“หมอสุรัตน์” เตือนนอนน้อย ตายเร็ว สมองเสื่อม แนะ 3 วิธี ไม่ให้สมองเหี่ยวเร็ว

View icon 661
วันที่ 20 ม.ค. 2568 | 11.11 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“หมอสุรัตน์” แนะคนนอนน้อย ควรทำ 3 สิ่ง คือ ทำสมาธิ เต้นแอโรบิก คิดบวก ลดเสี่ยง “สมองเสื่อม-ตายไว”

เมื่อวานนี้ (19ม.ค.68) ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” เตือนนอนน้อย มีโอกาสเสียชีวิตเร็ว หากไม่ตายก็อาจสมองเสื่อม จึงมีคำอธิบายและข้อแนะนำเพิ่มเติม ใจความสำคัญบางส่วน ดังนี้

“สมองก็เหมือนเครื่องยนต์ ที่ต้องการเวลา "หยุดพัก" เพื่อทำงานได้ดี งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Nature Reviews Neuroscience ชี้ให้เห็นว่า การนอนน้อย เซลล์จะเหนื่อยล้า การทำงาน function จะเพี้ยน

โดยเฉพาะ  neurotransmitters หรือสารสือประสาทนี่ ผิดปกติได้  GABA ตัวแรกเลย เป็นตัวที่ทำให้เรา calm down relax และไม่หัวเสีย คนอดนอนนี่หัวเสียง่าย

อีกตัว คือ Dopamine หาก อดนอน มันจะเพิ่มก่อน จากนั้นจะทำงานแปรปรวน  ทำให้ การ mood ไม่ดี ความจำย่ำแย่ และ ตัวนี้ acetylcholine ที่เป็นสารความจำ คือ อดนอน ไม่แปลกที่เบลอ นาน ๆ ไปสมองเสื่อม

แล้วหากนอนไม่พอ มีอะไรที่ทำให้สมองสงบ และพักเหมือนนอนหลับได้บ้าง มี 3 ข้อ เลย ที่หากนอนไม่พอ เราก็ทำแทนพอได้ ไม่สมองเหี่ยวเร็ว

1. การทำสมาธิ  : จากการศึกษาของ Dr. Amishi Jha นักประสาทวิทยา เครือข่ายการทำงานเริ่มต้นของสมอง (Default Mode Network) ซึ่งทำหน้าที่สร้างความคิดแบบฟุ้งซ่าน จะทำงานมากขึ้นเมื่อเราเครียดหรือทำงานหนัก การทำกิจกรรมที่ช่วยดึงสมาธิของสมองสามารถปิดการทำงานของเครือข่ายนี้ และทำให้สมองฟื้นตัวได้

การทำสมาธิ อาจเป็นการจดจ่อทำอะไรที่ทำให้ผ่อนคลายเล็ก ๆ เช่น การชงชา การอ่านหนังสือ ก็ได้  เราเรียกว่า การจดจ่อ เชิงลึก แต่ที่สำคัญ กิจกรรม ต้องไม่เครียด และใช้สมองมากจนเกินไป

2. ออกกำลังกายเพื่อเติมพลังสมอง : การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มความชัดเจนทางจิตใจ งานวิจัยใน The British Journal of Sports Medicine พบว่าการออกกำลังกายระดับปานกลางช่วยเพิ่มขนาดของฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและอารมณ์ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังเพิ่มสารเอ็นโดรฟินและเซโรโทนิน ซึ่งช่วยลดความเครียดและเสริมสร้างอารมณ์ที่ดี ทำให้ความจำดีขึ้นอีกด้วย

การสร้างกิจวัตรด้วยการออกกำลังที่ดีที่สุดคือ แอโรบิก 30 นาทีต่อวัน และมันจะเห็นผลเมื่อทำ ต่อเนื่อง 5 วันต่อสัปดาห์อย่างน้อย 2 เดือน  บริษัทอย่าง SAP ได้ผสมผสานโปรแกรมฟิตเนสเข้ากับนโยบายดูแลสุขภาพพนักงาน โปรแกรม “Run Your Way” ของ SAP ส่งเสริมให้พนักงานทั่วโลกติดตามการออกกำลังกายของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น มีสมาธิ และยังป้องกันสมองเสื่อมด้วย

3. การคิดเชิงบวก : คือคิดเชิงบวก เป็นการผ่อนคลายสมองชนิดหนึ่ง Dr. Martin Seligman ผู้บุกเบิกด้านจิตวิทยาเชิงบวก ให้นิยามของการคิดเชิงบวกว่า มันคือการคิดสิ่งที่ดี และการคิดสิ่งที่เป็นความจริงและยอมรับมันว่าการเป็นไป คือคุณค่าที่เกิดขึ้นบนโลก

ในหนังสือ Learned Optimism ของเขา ดร.เซลิกแมนได้ให้นิยามการคิดเชิงบวกแบบลึกซึ้งไว้ว่า “การฝึกมองความล้มเหลวว่าเป็นเรื่องชั่วคราว เฉพาะเจาะจง และเกิดจากปัจจัยภายนอก แทนที่จะมองว่าเป็นสิ่งถาวร ครอบคลุมทุกด้านในชีวิต และเป็นความผิดส่วนตัว”

เรียกว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โลกก็จะหมุนไป เราใช้ชีวิตให้มีความสุขดีกว่านะ ไม่จมเจ่า เรื่องเศร้า เราทำให้เกิดความคิดเชิงบวกได้อย่างไร

ปรับมุมมองงานของคุณให้สอดคล้องกับคุณค่าหลักในชีวิต ให้งานเป็นสิ่งที่เสริมคุณค่า ฉลองชัยชนะเล็กๆ สิ่งน้อย ๆ ก็เป็นความก้าวหน้าได้ เช่น วันนี้ เราสอนเจ้าแมวเหมียวของเราให้เดินมาหาเราได้แล้วนะ

การเป็นอาสาสมัครที่มีคุณค่าก็ทำให้เกิดความคิดเชิงบวก และ เสริมสมองได้เช่นกัน Pixar Animation Studios สนับสนุนให้พนักงานสำรวจความหลงใหลในสิ่งที่ตนเองสนใจนอกเหนือจากงาน การผสมผสานนี้ช่วยให้ Pixar ผลิตภาพยนตร์ที่ล้ำสมัยได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

เอามาฟังข้อดีต่าสง ๆ แต่หาก ใครไม่รู้กระบวนการพักสมอง มันก็ส่งผลต่อร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดูตัวอย่าง การละเลยการพักสมองมีความเสี่ยงที่เราเห็น ๆ กัน ในญี่ปุ่น ปรากฏการณ์ “คาโรชิ” (การเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป) เป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยจากสมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา (APA) ชี้ให้เห็นว่าความเครียดในที่ทำงานก่อให้เกิดการสูญเสียผลิตภาพมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ลองเอาไปใช้กันครับ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง