ฝุ่นพิษเต็มๆ กทม.และพื้นที่โดยรอบ ค่าฝุ่น PM2.5 วิกฤตอยู่ในระดับสีแดง
วันนี้ (23 ม.ค.68) เว็บไซต์ IQAir จัดอันดับคุณภาพอากาศตามเมืองสำคัญของโลก ณ 08.00 น. ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 พบว่า กทม. ค่าฝุ่น PM2.5 วิกฤตอยู่ในระดับสีแดง และอยู่ในอันดับ9 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ระดับมลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อทุกคน มีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกบ้าน ปิดหน้าต่าง สวมหน้ากากภายนอกบ้าน และ เปิดเครื่องฟอกอากาศ
อย่างไรก็ตาม 10 อันดับเมืองไทย ที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺)และมีมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุดคือ
1 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2 Khan Na Yao, กรุงเทพฯ
3 ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี
4 คลองหลวง, จังหวัดปทุมธานี
5 Bang Sao Thong, จังหวัดสมุทรปราการ
6 ระยอง, จังหวัดระยอง
7 Khlong Nueng, Pathum Thani
8 นครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม
9 Thawi Watthana, กรุงเทพฯ
10 ขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันนี้ (23 ม.ค.68) เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 71 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตหนองแขม 96.6 มคก./ลบ.ม.
2 เขตบางขุนเทียน 85.9 มคก./ลบ.ม.
3 เขตภาษีเจริญ 83.4 มคก./ลบ.ม.
4 เขตทวีวัฒนา 83.3 มคก./ลบ.ม.
5 เขตหนองจอก 81.4 มคก./ลบ.ม.
6 เขตตลิ่งชัน 79.3 มคก./ลบ.ม.
7 เขตบางนา 78.6 มคก./ลบ.ม.
8 เขตมีนบุรี 77.7 มคก./ลบ.ม.
9 เขตคันนายาว 76.6 มคก./ลบ.ม.
10 เขตจอมทอง 76.1 มคก./ลบ.ม.
11 เขตคลองสามวา 75.6 มคก./ลบ.ม.
12 เขตสายไหม 75.4 มคก./ลบ.ม.
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกคน งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไปใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์