การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 รวมผู้นำศาสนานานาชาติมุ่งธรรมะสู่สันติภาพ

การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 รวมผู้นำศาสนานานาชาติมุ่งธรรมะสู่สันติภาพ

View icon 116
วันที่ 14 ก.พ. 2568 | 18.49 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
การประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 รวมผู้นำศาสนานานาชาติมุ่งธรรมะสู่สันติภาพ

วันนี้ (14 ก.พ.68) ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มีการจัดประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ "ศตวรรษแห่งเอเชียของธรรมะ-ธรรม" โดยความร่วมมือระหว่างองค์กร Vivekananda International Foundation India (VIF) สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และองค์กรพันธมิตร นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย

โดยมีพระสงฆ์ นักบวชศาสนาพราหมณ์ ผู้นำศาสนาจากนานาประเทศ รวมถึงบุคคลสำคัญ อาทิ ศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ราชบัณฑิต และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ภายในงานมีพิธีสวดมนต์นำโดยราชคุรุและนักบุญศาสนาฮินดู ตามด้วยการกล่าวสัมโมทนียคาถา โดยพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาส วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และ พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา อินเดีย

Dr. Arvind ผู้อำนวยการ VIF อินเดีย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ว่าเป็นการสานต่อการประชุมครั้งที่ผ่านมสในประเด็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยปีนี้เน้นการใช้หลักธรรมะเพื่อนำมาซึ่งสันติภาพโลก ท่ามกลางวิกฤตความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และความขัดแย้งทางการเมือง

"ในยุคที่ความอดทน เมตตา กรุณา แทบไม่ปรากฏในการเจรจาระหว่างประเทศ แก่นธรรมของศาสนาฮินดูและพุทธจึงเป็นความหวังในการจุดประกายคุณค่าแห่งสันติภาพ ความอดทน ความสามัคคี อหิงสา สัจจะ และกรุณา ซึ่งควรมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"

ทั้งนี้ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ในการยุติความขัดแย้งผ่านการเจรจาและการทูต สอดคล้องกับแนวคิดของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะที่เคยกล่าวถึงความสำคัญของความเมตตา อดทน และการยอมรับความหลากหลายเพื่อสร้างความมั่นคงและสันติภาพ

ในขณะที่ ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย กล่าวในที่ประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 นี้ จุดเริ่มต้นของการประชุมว่า เกิดจากความร่วมมือของพุทธบริษัททุกภาคส่วนที่มุ่งสร้างคุณงามความดีเพื่อถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเริ่มจากความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ก้าวข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้วยความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีธรรมะในจิตใจ

67af2ebee3f309.36246141.jpg

"ในโลกที่เต็มไปด้วยความโลภ ธรรมะและบุญกุศลคือสิ่งเดียวที่จะติดตัวเราไปจนวาระสุดท้าย การรวมตัวกันของประเทศในเอเชียที่มีรากฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จะเป็นการแสดงให้ประชาคมโลกเห็นถึงพลังแห่งธรรมที่แท้จริง ไม่มีพลังใดจะยิ่งใหญ่เท่าพลังแห่งธรรม ดั่งเช่นพระพุทธศาสนาที่ดำรงอยู่คู่มนุษยชาติมาจนถึงปัจจุบัน"

โดยเน้นย้ำว่า การรวมตัวของผู้นำศาสนาในครั้งนี้จะเป็นประดุจประทีปที่จุดไฟแห่งสติ ศีล และธรรมะ นำไปสู่วิถีชีวิตที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ยึดมั่นในสัจธรรมและความจริงแท้ ที่ว่าทุกชีวิตล้วนต้องเผชิญกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และท้ายที่สุด ธรรมะจะชนะทุกสิ่งในโลก หากมนุษย์ทุกคนเข้าใจอย่างถ่องแท้

ช่วงเช้ามีการปาฐกถาจากรัฐมนตรี และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ อาทิ Mr. Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย , พระพรหมวัชรธีราจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

67af2f1d8b8da6.90143876.jpg

ภาคบ่ายของการประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 จัดให้มีการประชุมโต๊ะกลมระดับผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาและจิตวิญญาณ พร้อมการประชุมเชิงวิชาการ มุ่งเน้นประเด็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

การประชุมครั้งนี้มุ่งสร้างเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภูมิภาค เพื่อหาแนวทางประยุกต์ใช้หลักธรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การประชุมสัมมนาทางวิชาการในช่วงบ่าย ได้รับเกียรติจากนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุม SAMVAD ในครั้งนี้ มีเป้าหมายอยู่ 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ 1.การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Conflict Avoidance) ที่จะเกิดขึ้นในโลก กับ 2.ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consciousness) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

67af2f974ff866.54030492.jpg

“ทุกท่านคงทราบดี หลังจากที่โลกทั้งใบตกอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ มีการแบ่งข้างกัน ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันมากยิ่งขึ้น มีการแบ่งแยกกันมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” รมว.ต่างประเทศ กล่าว

นายมาริษ กล่าวต่อไปว่า การประชุม SAMVAD ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ริเริ่มโดย 2 สถาบัน และมีหลายหน่วยงานร่วมสนับสนุน ซึ่งรวมถึงสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย จึงเป็นโอกาสเหมาะสมที่ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ที่ยึดมั่นใจหลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ความสำคัญกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่จะนำไปสู่การปรองดอง ละเว้นการขัดแย้งระหว่างกัน รวมทั้งสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน

สำหรับการประชุม SAMVAD ครั้งที่ 4 เป็นการรวมตัวกันของผู้นำศาสนิกชนจากทั้งศาสนาพุทธ ฮินดูและอื่นๆ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 17 ก.พ. 2568 โดยในวันที่ 14 ก.พ. 2568 จัดที่ศูนย์ประชุม UN กรุงเทพฯ กิจกรรมในช่วงเช้า มีการกล่าววสัมโทนียกถา โดย พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะภาค 11 และ พระธรรมโพธิวงศ์ ประธานคณะธรรมทูตไทยในอินเดียและเนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา เมืองพุทธคยา และเวทีอภิปรายระดับรัฐมนตรี ขณะที่ในช่วงบ่าย จะเป็นเวทีโต๊ะกลมของผู้นำศาสนาและผู้นำทางจิตวิญญาณ และการประชุมเชิงวิชาการเรื่องการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

โดยไฮไลต์สำคัญของงานช่วงบ่ายคือการสัมมนาในหัวข้อ 'Samvad - ปรัชญาเพื่อระเบียบโลกใหม่' โดย มิสเตอร์ เอส. คุรุมูรธี ประธาน VIF จากนิวเดลี ประเทศอินเดีย ท่านได้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา โดยชี้ให้เห็นว่าทั้งสองศาสนามีแก่นธรรมที่สอดคล้องกัน และต่างยึดหลักปรัชญาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

ท่านได้เน้นย้ำว่า แทนที่จะนำเอาหลักปฏิบัติจากตะวันตกมาใช้ ประเทศในเอเชียควรประยุกต์ใช้หลักธรรมจากพุทธศาสนาและฮินดูให้เหมาะสมกับบริบทของตน โดยเฉพาะหลักสายกลาง ซึ่งไม่เพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต แต่ยังส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างพอดีและไม่ฟุ่มเฟือย

67af3087834801.00590266.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง