ขั้นตอนรับเงินคืนภาษี เช็กวิธีได้กี่บาท กรณีไหนบ้างกี่วันได้

ขั้นตอนรับเงินคืนภาษี เช็กวิธีได้กี่บาท กรณีไหนบ้างกี่วันได้

View icon 11.1K
วันที่ 18 มี.ค. 2568 | 11.05 น.
เกาะกระแสออนไลน์
แชร์
รับเงินคืนภาษี ได้กรณีไหนบ้างหลังจากยื่นผ่านออนไลน์ 2568  เงินได้จากปี 2567 บุคคลธรรมดา เช็กขั้นตอน 

อัปเดตล่าสุด ขั้นตอนยื่นผ่านออนไลน์ 2568  เงินได้จากปี 2567 บุคคลธรรมดา "กรมสรรพากร" กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด 91 ประจำปีภาษี 2567 ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถยื่นแบบฯ ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th และ แอปพลิเคชัน RD Smart Tax ซึ่งสามารถยื่นแบบฯ ด้วยกระดาษได้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568  หรือผู้ที่ยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2568

โดยกรณียื่นแบบฯ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร สามารถยื่นแบบฯ ผ่านระบบ e-filing และระบบ D-MyTax (Digital MyTax) ซึ่งเป็นระบบที่ยกระดับการให้บริการ โดยรวมระบบให้บริการทางภาษีต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน

กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หรือยื่นไม่ทัน กรมสรรพากร เตือนต้องจ่ายค่ายปรับด้วย

และในแต่ละปี กรมสรรพากรจะกำหนดให้คนไทยทุกคนที่มีเงินเดือนประจำตั้งแต่ 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่น ตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งปัจจุบันทางกรมสรรพากรได้เปิดให้ผู้เสียภาษียื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากร และอีกช่องทางคือการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th

โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2567 สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ในปีถัดไป (มกราคม-มีนาคม 2568)

ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ได้ถึงวันไหน ย้ำ! ยื่นไม่ทันต้องจ่ายค่าปรับ

สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบ ภ.ง.ด.90/91 มีขั้นตอนดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร : efiling.rd.go.th หรือ https://www.rd.go.th
2.จากนั้นให้กดไปที่ เมนู : ยื่นแบบออนไลน์
3.ระบบจะนำท่านเข้าสู่ระบบ ผู้เสียภาษีจะต้องกรอก เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน
4.หากกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีข้อมูลถูกต้อง ข้อมูลที่ปรากฏจะแสดงหน้าเมนู  : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91

หากจำรหัสผ่านไม่ได้ จะขอรหัสผ่านใหม่ ดำเนินการได้ดังนี้

1.สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th > E-FILING
2.ยื่นแบบทุกประเภท > คลิกปุ่ม ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ
3.ระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้ คลิก ลืมรหัสผ่าน >
4.ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร > ทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ☐ ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ
5. คลิกปุ่ม ถัดไป
6.ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล ที่ผู้ใช้งานระบุไว้ในขั้นตอนการลงทะเบียน
7.คลิกปุ่ม ขอรหัส โดยระบบจะทำการจัดส่งรหัส OTP ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล ให้ผู้ใช้งานระบุรหัส OTP ที่ได้รับ ภายใน 5 นาที
8.คลิกปุ่ม ถัดไป
9.ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วคลิก “บันทึกรหัสผ่าน”
10.ระบบจะแสดงข้อความ “กำหนดรหัสผ่านใหม่สำเร็จแล้ว” โดยไม่มีการแจ้งหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านทางหน้าจออีก

ขอรับ "เงินคืนภาษี" จะได้กรณีไหนบ้าง 

คือเงินที่ผู้เสียภาษีได้รับคืนจากกรมสรรพากร แต่จะได้รับก็ต่อเมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีมากเกินไป หรือมีค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาคำนวณเพื่อลดหย่อนภาษีได้​ ซึ่งเงินคืนภาษีนี้มาจาก 2 แหล่งหลัก ๆ ด้วยกัน​

1. เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่เกินมา นั่น​คือจำนวนเงินที่ถูกหักภาษีจากรายได้ของผู้เสียภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาระต้องจ่ายภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ถูกหักไว้​​
​​
2.เงินที่นำไปลดหย่อนภาษี​​ - เช่น เบี้ยประกันชีวิต ค่าเล่าเรียนของลูก หรือเงินบริจาค​ เป็นต้น

​​เมื่อนำทั้งสองส่วนนี้มา​​คำนวณเพื่อคืนให้แก่ผู้เสียภาษี​​ หากพบว่าจ่ายภาษีเกินไป ก็จะได้รับเงินส่วนนั้นคืน

วิธีตรวจสอบว่าได้เงินภาษีคืนเท่าไหร่

สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมสรรพากร ดังนี้​

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (​www.rd.go.th​) และเลือกเมนู "ตรวจสอบสถานะการคืนภาษี"​

​​2.กรอกข้อมูลที่ต้องระบุ เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลข 13 หลัก) และปีภาษีที่ยื่นแบบ​

​​3.คลิกปุ่ม "ตรวจสอบ" เพื่อดูรายละเอียดการคืนภาษี ได้แก่วันที่กรมสรรพากรอนุมัติการคืนภาษี​

​​4.หากพ้นกำหนด 60 วัน แต่ยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​

​​5.กรณีที่ต้องการเร่งรัดการคืนภาษี สามารถยื่นคำร้องขอเร่งรัดการคืนภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่​

ภาษีเงินคืน กี่วันได้คืน

กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91

67d8f460b6f786.35870973.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง