“พรรคประชาชน” หนุนรัฐบาลเร่งเจรจา “สหรัฐฯ” ลดผลกระทบกำแพงภาษี ลั่นคนมีส่วนได้ส่วนเสียต้องได้รู้ อย่ามุบมิบทำ
วันนี้ (3 เม.ย.68) ทีมนโยบายเศรษฐกิจพรรคประชาชนนำโดย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ และนายวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรค ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนต่อกรณีนโยบายกำแพงภาษีของสหรัฐอเมริกา ตอบโต้ไทยด้วยการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากไทยอีก 36%
นางสาวศิริกัญญา เจรจา จึงขอให้รัฐบาลใช้การเจรจาอย่างเร่งด่วนและรัดกุม เพราะหากไม่ทำอะไรเลย หรือการเจรจาไม่เป็นผล จะกระทบกับมูลค่าส่งออกรวมมากกว่า 1% ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อาจหดตัวมากกว่า 1% และ กว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้
สำหรับกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบหนัก คือ อุปกรณ์สื่อสาร ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ยางล้อ เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ มิใช่เพียงภาคส่งออกเท่านั้น แต่การลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ก็จะหยุดชะงักด้วย เพื่อรอให้ฝุ่นหายตลบถึงจะตัดสินใจลงทุนกันครั้งใหม่
ด้านนายวีระยุทธ เสนอให้แยกผลกระทบออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลทางตรง ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่พึ่งตลาดสหรัฐฯ เป็นหลัก คือ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กลุ่มนี้จะได้รับผลรุนแรงรวดเร็ว เพราะเราส่งออกไปสหรัฐฯ รวมแล้ว 55,000 ล้านเหรียญ คิดเป็น 19% ของการส่งออกทั้งหมด และเกินดุลกับสหรัฐฯ ถึง 45,600 ล้านเหรียญ
ส่วน ผลกระทบทางอ้อม 3 ชั้น ที่ไม่ควรมองข้าม ชั้นที่ 1 สินค้าที่ส่งไปยังประเทศที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษี เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไทยส่งออกไปเม็กซิโก เพื่อประกอบส่งเข้าสหรัฐฯ อีกทีก็มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท ชั้นที่สอง การแข่งขันรุนแรงขึ้นในตลาดประเทศอื่นๆ จากการที่ผู้ส่งออกหนีจากตลาดสหรัฐฯ เช่น ในตลาดประเทศออสเตรเลีย ก็มีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน เข้ามาชิงส่วนแบ่งของไทย ชั้นที่สาม คือ สินค้าขั้นกลางอย่างยางพาราและเม็ดพลาสติก ที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อเข้าตลาดสหรัฐฯ ยอดตรงนี้ก็จะตกลงไปด้วย
ดังนั้น การเจรจาที่จะเกิดขึ้น รัฐบาลต้องเปิดข้อมูลผู้ได้ผู้เสียจากของที่จะเอาไปต่อรอง อย่ามุบมิบเจรจา อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับการเปิดเสรีกับจีน ที่ผู้เสียประโยชน์ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับความช่วยเหลือให้เตรียมพร้อมรับมือ และเหนืออื่นใด
ขณะที่ นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ แนะนำให้พร้อมรับมือการไหลทะลักเข้ามาของสินค้าจีนที่จะรุนแรงขึ้นอีก หลายเรื่องรัฐบาลพูดมานานอยู่ในแผนที่จะทำ แต่ยังไม่มีกำหนดเสร็จชัดเจน เช่น การกำกับแพลตฟอร์ม การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลในไทย เพื่อให้ภาครัฐสามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์มีส่วนรับผิดชอบ หากปล่อยให้มีการขายสินค้าไม่ได้มาตรฐานบนแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ น.ส.ศิริกัญญา เตรียมหารือวิปรัฐบาล นำเรื่องสหรัฐฯ ขึ้นภาษีไทยเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ มาพิจารณา ก่อนร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) เพราะมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่า