“ทวี” ขอดูมติก่อนพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ หลังแพทยสภา ฟัน 3 หมอ

“ทวี” ขอดูมติก่อนพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ หลังแพทยสภา ฟัน 3 หมอ

View icon 144
วันที่ 13 พ.ค. 2568 | 13.38 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
“ทวี” อ้าง รธน.-ระเบียบราชทัณฑ์ หลังแพทยสภา ฟัน 3 หมอ ปม "ทักษิณ" ป่วยทิพย์ ขอดูมติก่อนพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ ชี้ หากป่วยเกินศักยภาพ ส่งรักษา-คุมขังภายนอกได้

วันนี้ (13 พ.ค.68) พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี แพทยสภาสั่งลงโทษหมอ 3 คนกรณี ส่งตัว นายทักษิณ ชินวัตร ไปรักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจว่า ยังไม่เห็นรายงานมติแพทยสภา แต่คาดเดาว่า แพทย์ที่ถูกวากกล่าวตักเตือน เป็นแพทย์ของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ขอดูรายละเอียดก่อน ในฐานะที่เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ขอชี้แจงว่าเรื่องของระเบียบกรมราชทัณฑ์ เป็นกฎหมายที่เพิ่งออกมาใหม่ ทั้งนี้การพิจารณากฎหมายใหม่  ต้องดูกฎหมายเก่าประกอบด้วย และมั่นใจว่ากระทรวงยุติธรรมได้ทำตามกฎหมาย และก็ทำเช่นนี้มาโดยตลอด ทั้งนี้กรณีผู้ต้องขังป่วยโรคเฉพาะทาง ต้องใช้หลักที่ว่า หากเป็นโรคที่สถานพยาบาลของกรมราชทัณฑ์ไม่มีศักยภาพในการรักษา ก็จะส่งไปรักษาโรงพยาบาลภายนอก ซึ่งในระหว่างที่ส่งไปรักษาตัวนั้น โรงพยาบาลดังกล่าวยังถือเป็นที่คุมขัง สถานที่หนึ่ง คือควบคุมดูแลไม่ให้หลบหนี หรือไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน

หลังจากแพทยสภา มีมติออกมาแล้ว ต้องมีหน่วยงานใดรับผิดชอบหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ขอดูเนื้อหารายละเอียดก่อน

แม้จะไม่ได้ป่วยวิกฤต แต่หากเป็นโรคที่สถานพยาบาลราชทัณฑ์ ไม่สามารถรักษาได้ ก็มีสิทธิส่งไปรักษาตัวภายนอกใช่หรือไม่ พันตำรวจเอกทวี กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ในมาตรา 53 บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องปฏิบัติตาม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งเราก็ปฏิบัติตามลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ

หลังจากนี้จะมีการยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ขาดใครเห็นว่ามีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องและชอบธรรม มีช่องทางร้องเรียน เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือองค์กรอิสระอื่นฯ ทั้งนี้ตนขอชี้แจงว่าพระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ได้ผ่าน การพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่11 ซึ่งคณะนั้นได้นำบทบัญญัติในมาตรา 246 มาเทียบกับมาตรา 55 ด้วย และเห็นว่าไม่ขัดกัน

ส่วนกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ร้อง ป.ป.ช.เอาผิดฝ่าฝืน รธน.ม.234 มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่นั้น พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า นายเรืองไกร มีสิทธิ์ไปยื่นร้อง แต่เมื่อปฏิบัติตามกฎหมาย และ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ซึ่งบังคับใช้ในขณะที่ตนไม่ได้เป็น รมว.ยุติธรรม บางครั้งการเคารพสิทธิเสรีภาพ หรือการเจ็บป่วย รัฐธรรมนูญให้การคุ้มครอง ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพราะถือเป็นประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง