นวัตกรรมสร้างสุข : ซินโครตรอนไทย ร่วมโครงการสร้างแผนที่ 3 มิติ สมองครั้งแรกของโลก

View icon 57
วันที่ 14 ธ.ค. 2565 | 12.55 น.
7 สีช่วยชาวบ้าน
แชร์
7 สีช่วยชาวบ้าน - 6 ห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนในเอเชีย-แปซิฟิก รวมตัวกันภายใต้โครงการ SYNAPSE เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติเครือข่ายเซลล์ประสาทของสมองมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลก สำหรับเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการรักษาโรคทางสมอง ติตตามจากรายงาน

เทคนิค Synchrotron X-ray microscopy ที่แสดงรายละเอียดของเครือข่ายเซลล์ประสาทได้ ซึ่งทำให้เข้าใจการทำงานของระบบสมองได้มากขึ้น เป็นเทคนิคที่ใช้ในโครงการ Synchrotron for Neuroscience - an Asia-Pacific Strategic Enterprise หรือ SYNAPSE มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างแผนที่เครือข่ายเซลล์ประสาทของสมองมนุษย์ เพื่อนำไปช่วยวินิจฉัย หรือรักษาโรคทางระบบประสาทต่าง ๆ ได้ในอนาคต

เป้าหมายของโครงการ SYNAPSE คือ การจัดสร้างแผนที่โครงข่ายเซลล์สมองในรูปแบบแผนที่ 3 มิติ ภายใน 4 ปี จากสมองมนุษย์ 1 สมอง และพัฒนาระบบถ่ายภาพเอกซเรย์โทโมกราฟี 3 มิติ ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 เท่า เพื่อจัดทำแผนที่โครงข่ายเซลล์ประสาทให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการ ซึ่งเทคนิคเดิมนั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปี แต่การใช้เทคนิคซินโครตรอนจะร่นระยะเวลาเหลือเพียง 2-3 ปี โดยจะแบ่งสมองมนุษย์ออกเป็น 7 ส่วน ให้ประเทศสมาชิกนำไปถ่ายภาพเอกซเรย์โทโมกราฟี 3 มิติ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มารวมกัน ทำให้สร้างแผนที่สามมิติของสมองได้รวดเร็วขึ้น

ปัจจุบันมีสมาชิกในโครงการจาก 6 ห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนในภูมิภาคเอเชีย จากทั้งเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และออสเตรเลีย ซึ่งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกชาติล่าสุด และจะเป็นครั้งแรกของโลกที่มีแผนที่สมองที่แสดงรายละเอียดการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาท ซึ่งต่อไปนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักวิจัย สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ เกิดเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของมนุษยชาติในการศึกษาเซลล์สมอง ที่มีมากกว่าดวงดาวในกาแล็กซี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง