อุตุฯ เตือนรับมือ พายุฤดูร้อน-พายุหมุนเขตร้อน เช็กพิกัดพื้นที่ฝนตกหนัก

อุตุฯ เตือนรับมือ พายุฤดูร้อน-พายุหมุนเขตร้อน เช็กพิกัดพื้นที่ฝนตกหนัก

View icon 10.6K
วันที่ 8 พ.ค. 2566 | 10.29 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อุตุฯ เตือนรับมือ พายุฤดูร้อน-พายุหมุนเขตร้อน เมฆฝนฟ้าคะนองปกคลุมภาคอีสาน มีแนวโน้มกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก เข้าสู่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล เช็กพิกัดพื้นที่ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม ช่วงสายวันนี้ (8 พ.ค.66) เมฆฝนฟ้าคะนองปกคลุมภาคอีสาน มีแนวโน้มกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก เข้าสู่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ในระยะต่อไป

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (133/2566) ระบุว่า ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
         
ดังนั้น ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

64586dd0f40ee4.13168798.jpg         

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันนี้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 8-14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลาง และทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะดังกล่าวทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ดังนั้น ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน เดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง