เกษตรกรดีเด่น เกาะตาล จ.กำแพงเพชร   ชี้  “ดินคือหัวใจเกษตร" พลิกฟื้นผืนดินบ้านเกิด ทำไร่นาสวนผสม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์  สร้างรายได้ทั้งปี

เกษตรกรดีเด่น เกาะตาล จ.กำแพงเพชร ชี้ “ดินคือหัวใจเกษตร" พลิกฟื้นผืนดินบ้านเกิด ทำไร่นาสวนผสม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้ทั้งปี

View icon 219
วันที่ 17 พ.ค. 2566 | 16.15 น.
ข่าวในประเทศ
แชร์
เกษตรกรดีเด่น (Smart Famer)  เกาะตาล  จ.กำแพงเพชร ชี้  “ดินคือหัวใจเกษตร พลิกฟื้นผืนดินบ้านเกิด ทำไร่นาสวนผสม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์(Organic Thaiand) สร้างรายได้ทั้งปี

( 17 พ.ค.66 ) นายศักดิเดชน์  แก้ววิเศษ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ลงพื้นที่ เยี่ยมชมผลงานของ Smart Famer นางสาวรติพรรณ เงินประกายรัตน์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำไร่นาสวนผสมของจังหวัดกำแพงเพชร ปี 2566 และเป็นเกษตรดีเด่นดันดับ 2 ของเขต 6 จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งเป็นต้นแบบในการทำการเกษตรอินทรีย์  และเป็นศูนย์ศพก.เครือข่ายอำเภอขาณุวรลักษบุรี  หมู่ที่ 2  ตำบลเกาะตาล อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  กล่าวว่า แปลง ไร่นาสวนผสม ของ นางสาวรติพรรณ เงินประกายรัตน์  ซึ่งเป็นSmart Famer  ของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นการทำในรูปแบบการเกษตรแบบอินทรีย์ ทำในพื้นที่ 10 ไร่กิจกรรมที่ทำประกอบด้วย นาข้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น เลี้ยงปลา  พืชผัก ผลงานที่โดดเด่นคือ ผักสลัดกรีนโอ๊ค เรคโอ๊ค  คอส ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(Organic Thaiand)

นอกจากนี้ยังมีการนำ นวัตกรรมหลายอย่างมาใช้ในแปลงเช่น ระบบโรงเรือนแบบทรงเพิงหมาแหงน หลังคา-โรงเรือนใช้เป็นแบบพลาสติก ช่วงฝนตกน้ำไหลมาในทิศทางเดียวกันระบบโรงเรือนมีความแข็งแรง แก้ไขปัญหาเรื่องโรงเรือนเสียหายจากลมพายุ  อากาศถ่ายเทสะดวกทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี  ระบบน้ำใช้เทคโนโลยีระบบแบบตั้งเวลาให้น้ำอัตโนมัติ ง่ายสะดวก รวดเร็ว และลดการใช้แรงงานคน ซึ่งเป็นแปลงที่เหมาะสมในการที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ 

ด้านนางสาวรติพรรณ  เงินประกายรัตน์ (คุณเล็ก)  เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำไร่นาสวนผสมของจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า เดิมตนทำงานฝ่ายธุรการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ของเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และเห็นคุณแม่ให้ชาวบ้านเช่าที่ดินทำการเกษตร ผู้เช่ามีการใช้สารเคมีปริมาณมาก ซึ่งการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ที่ปริมาณมากมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค และยังทำให้หน้าดินเสีย คุณเล็กรู้สึกสงสารหน้าดิน เป็นห่วงสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค อยากให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี  จึงริเริ่มทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ 1


ก่อนปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไร่มันสำปะหลังมาเป็นเกษตรปลอดสารเคมี มีการปรับสภาพพื้นดิน ปลูกถั่วเขียวสลับกับปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเพิ่มไนโตรเจนให้กับดิน มีส่งตัวอย่างดินให้กับสถานีพัฒนาที่ดิน เพื่อตรวจหาสารตกค้างก่อนที่จะเริ่มทำการเกษตร ปี พ.ศ. 2559 คุณเล็ก เริ่มต้นทำเกษตร โดยไม่มีประสบการณ์ทางด้านการเกษตร จึงมีความคิดที่จะเริ่มต้นจากการปลูกกล้วย 1 ไร่ก่อน เพราะว่าเป็นพืชที่ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วงระยะเวลาให้ผลผลิตไม่นาน เตรียมจะลงปลูกแล้วแต่มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ชาวบ้านบอกมาว่าปลูกกล้วยจะต้องทำเป็นร่องสวน

ซึ่งตอนนั้นในสวนยังไม่มีแหล่งน้ำ  จึงได้ศึกษาหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่าจะปลูกพืชอะไรดีที่ไม่ต้องใช้น้ำมาก ตอนนั้นมีพืชที่ตลาดโลกกำลังนิยม คือ โกโก้ กาแฟ จึงเลือกปลูกเป็นโกโก้ กับกาแฟ เพราะอยากจะทำเป็นเกษตรปลอดสารเคมีด้วย เริ่มจากพื้นที่ 1 ไร่ และลงปลูกกล้วยเพื่อใช้เป็นร่มเงาให้กับ โกโก้ กาแฟ และเริ่มวางแผนหาแหล่งน้ำที่จะนามาใช้ในสวน เจาะบ่อบาดาลน้ำตื้นแต่เจาะไม่เจอน้ำ พยายามหาน้ำด้วยตนเอง และขอรับการสนับสนุนแหล่งน้ำกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำมาทำเกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ ได้รับการสนับสนุนจำนวน 2 บ่อ และในเวลาต่อมา ขุดเพิ่มอีก 2 บ่อ เพื่อป้องกันน้ำขาดแคลนช่วงฤดูแล้ง เมื่อมีบ่อแต่ยังไม่มีน้ำ จึงหาวิธีเอาน้ำเข้ามาใช้ในสวน โดยมีการวางแผนใช้ระบบส่งน้ำมาจากเหมืองไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยรักษาโลกร้อน ด้วยการไม่ใช้เครื่องยนต์น้ำมันสูบน้ำ เปลี่ยนเป็นใช้ระบบการวางท่อแบบเทลาดวัดระดับน้ำให้มีการเทลาดให้ได้ระดับการไหลโดยใช้แรงดันน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังของน้ำเอง

เริ่มปรับเปลี่ยนพื้นที่ดินบางส่วนมาทำพืชผักสวนครัว เช่น บวบ แตงกวา ผักบุ้ง ผักซี ต้นหอม ถั่วฝักยาว ฯลฯ ได้รับความรู้จากเพื่อนบ้านที่ทำอาชีพเกษตรกรรม มาช่วยสอนแบบจับมือทำกันเลย และที่เลือกปลูกเป็นพืชผักสวนครัวเพราะถ้าบริโภคเองไม่หมดก็สามารถขายให้กับชาวบ้านในชุมชนได้  การให้น้ำที่สวนใช้แบบระบบสปริงเกอร์ขนาดเล็กมาใช้ เพื่อลดต้นทุนแรงงานคนเดินรดน้ำผัก และประหยัดเวลาได้อีกด้วย และช่วงที่ทำพืชผักสวนครัวได้ทำการจดบันทึกข้อมูล ชนิดของพืช วันปลูก และวันที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตติดไว้ที่แปลงด้วย


เกษตรอินทรีย์ 2


เกษตรอินทรีย์ 3


มีวันหนึ่งผู้บริโภคแนะนำให้เปลี่ยนจากปลูกผักพืชบ้านเป็นผักสลัด จึงลองค้นหาข้อมูลการทำผักสลัดในเฟชบุ๊ก แต่ไปถูกใจเพจของ คุณปรีชา วงศ์สมุท ในเรื่องปลูกผักกาดเขียวยกกระบะสูงจากพื้นดิน เพราะได้มองไปถึง Health and safety ของผู้ผลิตเอง หลังจากนั้นลองทากระบะปลูกผสมดินตามสูตรในเพจ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงเข้าไปเรียนรู้กับคุณปรีชาที่สวน พร้อมซื้อดินมาลองปลูกตามเพจ ปรากฏว่าผักกาดเขียวงาม จึงมีความสนใจเรื่องการผสมดินปลูก เลยได้รับความอนุเคราะห์จากคุณปรีชา มาสอนผสมดินถึงที่สวน คุณเล็กมีความคิดว่า ผักกาดเขียวงามขนาดนี้ ถ้าปลูกเป็นผักสลัดก็น่าจะได้เหมือนกัน เพราะดินคือหัวใจเกษตร

จากที่ได้ค้นหาข้อมูลว่าผักสลัดชนิดไหน ที่เป็นที่นิยมของตลาดและปลูกง่ายสุด จึงได้เป็นผักสลัดกรีนโอ๊ค และเรดโอ๊ค แล้วตอบโจทย์ของร้านอาหารใช้ผักรองจานอาหารตกแต่งเพื่อความสวยงาม หลังจากผักสลัดเริ่มให้ผลผลิตที่อยู่ในขั้นพึงพอใจ ปัจจุบันจากคนที่ไม่ทานผัก แต่ต้องมาทานเพื่อตอบกับผู้บริโภคให้ได้ว่า มีรสชาติแบบไหน จนกลายเป็นสิ่งที่ชอบ สวนเนเจอร์ฟาร์ม เกาะตาล NATURE'S FARM KO TAN ได้ขยายพื้นที่ปลูกผักสลัด มีช่องการจำหน่าย
จากที่ทาการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี เพื่อผลิตพืชผักปลอดสารจาหน่ายในราคาที่ผู้บริโภคจับต้องได้ สุขภาพที่จับต้องได้ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน ร้านอาหาร และผู้บริโภคที่รักในสุขภาพจนมาถึงปัจจุบัน

ระบบโรงเรือนปลูกผักสลัดโซนที่ 2 ออกแบบเอง ทรงเพิงหมาแหงน หลังคาโรงเรือนใช้ เป็นพลาสติก (กระจายแสง 7% ยูวี) ช่วงฝนตกน้ำฝนจะไหลมาในทิศทางเดียวกัน และทำรางน้ำ เพื่อรองรับน้ำฝนกลับสู่แหล่งน้ำ  ระบบโรงเรือนมีความแข็งแรง อากาศถ่ายเท กระบะปลูกจะยกพื้นสูงอยู่ระดับที่เหมาะสมกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องก้มเงย ส่งผลมีการปวดหลัง  พื้นกระบะเป็นกระเบื้อง แล้วหุ้มดินด้วยแสลน เวลาให้น้ำๆจะไม่ขังกระบะและที่ไหลลงพื้นกลับไปสู่บ่อน้ำอีกครั้ง

ระบบน้ำใช้เทคโนโลยีระบบแบบตั้งเวลา (Timer) ให้น้ำอัตโนมัติ ง่าย สะดวก รวดเร็ว และ ลดการใช้แรงงานคน ส่วนน้าที่เปิดให้กับผักสลัด ที่สวนยั้งทำสารชีวภัณฑ์ จะเน้นการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และผู้ผลิต ที่ใช้จะมี เชื้อราไตรโคเดอร์มา และเชื้อราบิวเวอเรีย สำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรีได้เข้ามา ส่งเสริมการขยายเชื้อราใช้เองเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกทาง และไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม

สวนยังมีการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อใช้มูลไส้เดือน เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ไม่เป็นพิษต่อคน สัตว์เลี้ยง และสภาพแวดล้อม ช่วยปรับสภาพโครงสร้างดินไม่แน่นแข็ง รากพืชสามารถแพร่ขยาย ได้กว้าง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น จึงใช้ใส่รองก้อนหลุมก่อนปลูกพืช สำนักงานเกษตรยังแนะนำทำกับดับแมลง เป็นกับดักกาวเหนียว เป็นวิธีกาจัดศัตรูพืชแบบวิธีกล สามารถดักจับแมลงที่เป็นศัตรู พืชผัก เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ หนอนใยผัก และผีเสื้อกลางวันและ กลางคืนชนิดต่าง ๆ การใช้งานแผ่นกาวเหนียวดักแมลงมีราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ เหมาะกับการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
สนใจศึกษาดูงานติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี  โทร.055-779-242

ข่าวที่เกี่ยวข้อง