เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

View icon 336
วันที่ 21 พ.ค. 2566 | 14.05 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อากาศร้อนจัด ประกอบกับภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำ ลอยตายเกลื่อนกว่า 10 ตัน เกษตรกรน้ำตาตกขาดทุนหลายล้านบาท ขณะที่ประมงอำเภอลงพื้นที่เร่งสำรวจให้ความช่วยเหลือ

เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังตามลำน้ำชี ในพื้นบ้านกอกหนองบัว ต.หนองบัว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงไว้ในกระชัง ทยอยตายแล้วกว่า 10 ตัน มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท คาดสาเหตุเกิดจากอากาศร้อน น้ำในแม่น้ำชีมีน้อย และค่าออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ เกษตรกรเร่งน้ำนำปลาตายที่น็อกน้ำเนื่องจากขาดออกซิจน ขึ้นจากแพประชังขนมาไว้บนฝั่ง โดยใช้ลอกนำปลามากองไว้เร่งนำมาทำปลาร้า

น.ส.วุฒินี ภู่ระย้า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง บ้านกอก ตำบลหนองบัว กล่าวว่า เลี้ยงปลากระชังไว้ทั้งหมด 30 กระชัง รวมของผู้เลี้ยงคนอื่นๆ ในละแวกนี้รวมแล้วก็กว่า 100 กระชัง โดยปลาเริ่มทยอยตายตั้งแต่วานนี้ (20 พ.ค.66) ทำให้ต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันเอาปลาขึ้นจากน้ำ ซึ่งปลาที่ลอยขึ้นมาแล้วไม่สามารถขายได้ ต้องขอดเกล็ดควักไส้ทำความสะอาด ทำเป็นปลาร้าเท่านั้น

เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

“ส่วนปลาที่ยังพอขายได้ จากเดิมหากได้จับขายตอนนี้ราคารับซื้อจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 63 บาท แต่ก็ต้องจำใจขายไปกิโลกรัมละเพียง 10 บาทเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ได้อะไรเลย เพราะปลาก็ทยอยตายอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นทางผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.หนองบัว และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ได้รับผลกระทบได้เดินทางไปที่ฝายมหาสารคาม เพื่อขอให้ทางฝายเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อให้มีน้ำไหล ปลามีออกซิเจนในน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยทางฝายมหาสารคามแจ้งว่า จะเปิดประตูระบายน้ำให้ 5 เซนติเมตรเท่านั้น แต่ช่วงเย็นก็จะปิดเหมือนเดิม แต่ชาวบ้านอยากให้เปิดตลอด เพราะกว่าน้ำจะมาถึงปลาก็จะยิ่งตายไปเรื่อยๆ สร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ผู้เลี้ยงปลากระชังตลอดลำน้ำชีในพื้นที่ท้ายน้ำ อย่างอำเภอกันทรวิชัยและอำเภอเมืองมหาสารคามก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย” น.ส.วุฒินี กล่าว

เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

น.ส.วุฒินี กล่าวต่อว่า ตนลงทุนทั้งค่าอาหารและพันธุ์ปลารวมแล้วกว่า 800,000 บาท ปลากำลังจะจับขายได้ในอีก 1-2 วันนี้ แต่ยังไม่ทันได้จับขายก็มาตายเสียก่อน หากจะนับมูลค่าความเสียหายเฉพาะบริเวณนี้ หากเสียหายทั้งหมด มีกระชังปลาประมาณ 100 กระชัง แต่ละกระชังลงปลา 600-800 ตัว น้ำหนักที่จะได้ต่อ 1 กระชัง จะเท่ากับประมาณ 500-700 กิโลกรัม หากจับขายกิโลกรัมละ 63 บาท จะได้เป็นเงิน 31,500- 44,100 บาทต่อ 1 กระชัง โดยบริเวณนี้เลี้ยงปลาประมาณ 100 กระชังมูลค่าความเสียหายจะอยู่ที่ 3,150,000-4,410,000 บาท

“ตอนนี้ทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง อย่างกระชังของตนก็ต้องติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ ต่อท่อ PVC เจาะรู ปั๊มน้ำส่งขึ้นไปตามท่อ พร้อมๆ กับแล่นเรือเล็กบริเวณกระชัง เพื่อให้เกิดคลื่นใต้น้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและภาวนาขออย่าให้ปลาตายไปมากกว่านี้” น.ส.วุฒินี ระบุ

เกษตรกรน้ำตาตก เจอพิษอากาศร้อนจัด ภัยแล้งเริ่มส่งสัญญาณ ทำปลากระชังน็อกน้ำลอยตายกว่า 10 ตัน

ด้านนายยงยุทธ สุดมี หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัด กล่าวว่า ภายหลังจากได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ก็ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ตอนนี้เท่าที่สำรวจมี 2 เจ้า สาเหตุที่ปลาตายคาดว่าเกิดจากปริมาณน้ำน้อย การเคลื่อนไหวของน้ำไม่มี ค่าออกซิเจนในน้ำน้อย พอตกกลางคืนออกซิเจนก็จะยิ่งน้อยลง จึงทำให้ปลาทยอยตายอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้สำรวจว่าแต่ละกระชังมูลค่าความเสียหายเท่าไหร่ จากนั้นก็จะได้แจ้งไปยังประมงจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบดีกรมประมง เพื่อดำเนินช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่อไป โดยขอแจ้งเตือนไปยังผู้เลี้ยงปลากระชังในพื้นที่ท้ายน้ำ ในเขตพื้นที่อำเภอกันทรวิชัยและอำเภอเมืองมหาสารคามให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง