ภาพเก่าเล่าเรื่อง : 2 กรกฎาคม 2540 ประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง

ภาพเก่าเล่าเรื่อง : 2 กรกฎาคม 2540 ประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง

View icon 277
วันที่ 1 ก.ค. 2566 | 18.50 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ภาพเก่าเล่าเรื่อง : 2 กรกฎาคม 2540 ประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง
.
ภาพข่าว 2 กรกฎาคม 2540 
.
ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง
.
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องวิกฤตการเงินไทย 2540 หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง กันมาบ้างแล้ว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่าจุดเริ่มต้นคือวันที่ 2 ก.ค.2540 เป็นวันที่ไทย ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
.
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราใหม่ โดยให้ยกเลิกระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราเดิม ซึ่งได้ประกาศไว้ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2527 เปลี่ยนระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นลักษณะ ลอยตัว

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกระบบตะกร้าเงิน และได้เปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าเงินบาทให้มีลักษณะลอยตัวขึ้นลงตามภาวะตลาดเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นประชาชนจะไม่ได้รับทราบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในอนาคตได้ แต่ทางการจะประกาศอัตราที่ใช้อ้างอิงของเงินสกุลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมาให้รับทราบ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทเป็นครั้งคราวได้ตามความจำเป็น ซึ่งหมายความว่าหากค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ไปมาก ทางการก็จะเข้าไปพยุงไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจนเกินไป
.
แต่นายเริงชัย ก็ยอมรับว่า การเปลี่ยนเป็นระบบ ลอยตัว จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าในประเทศ ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมัน และกระทบต่อการทำธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทย ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมาก โดยมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24 - 26 บาท เกิดการเปิดเสรีทางการเงิน เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว เงินทุนต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาก แต่มาในรูปแบบเงินกู้ระยะสั้น ซึ่งภาคเอกชนกู้มาทำธุรกิจจนเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูง เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทต่อเนื่อง
.
กระทั่งช่วงปลายปี 2539 ธปท. ตัดสินใจแทรกแซงตลาด ใช้เงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องค่าเงินบาท จากเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีรวมทั้งสิ้น 38.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยความพยายามปกป้องค่าเงินบาทของ ธปท. จนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 เงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิลดลงเหลือเพียง 2.5 พันล้านดอลลาร์
.
สุดท้าย 2 กรกฎาคม 2540 ไทยตัดสินใจประกาศ ลอยตัว ค่าเงินบาท และนั่นคือปฐมบทแห่งวิกฤตการณ์ ต้มยำกุ้ง

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท