ผ่าชันสูตร น้องตุลา กระดูกบางทั่วร่างกาย ในวันสุดท้ายน้องยังทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่

ผ่าชันสูตร น้องตุลา กระดูกบางทั่วร่างกาย ในวันสุดท้ายน้องยังทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่

View icon 1.3K
วันที่ 14 ส.ค. 2566 | 12.30 น.
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
ผ่าชันสูตร น้องตุลา กระดูกบางทั่วร่างกาย มวลกระดูกสลายตัว ทำให้กระดูกแตกหักผิดรูป ลำไส้แดงผิดปกติ 10 เดือนท่ีผ่านมา ตุลาช่วยให้พี่เลี้ยงได้รู้จักวิธีการดูแลลูกช้าง ในวันสุดท้ายน้องยังทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่

สาเหตุการเสียชีวิตน้องตุลา วันนี้ (14 ส.ค.66) นายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) แถลงข่าวชี้แจงกรณีการเสียชีวิตของลูกช้างป่า "พลายตุลา" โดยลำดับเหตุการณ์การดูแลรักษาตั้งแต่เดือนได้รับตุลา ในเดือน ต.ค.66 หลังลูกช้างพลัดหลงออกจากฝูง ถูกพบตัวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี โดยผลเลือดของตุลาพบเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส ซึ่งอันตรายถึงชีวิตลูกช้าง และต่อมาย้ายมาอนุบาลที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 กระบกคู่ จ.ฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเสียชีวิต

นายสัตวแพทย์ไพโรจน์  พรมวัฒน์  ระบุว่า เชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัวกระจายตัวในกระแสเลือดของตุลา จึงได้ให้ยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ควบคุ่กับวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อให้ลูกช้างแข็งแรง ต่อมามีการตรวจติดตามยังพบเชื้อแฝงในร่างกาย แต่ทิศทางสุขภาพดีขึ้น ในเดือน พค.-สค. ผลตรวจไม่พบเชื้อ จึงหยุดยาต้านไวรัส แต่พบว่า ตุลา มีอาการป่วยเนื่องจากยืนหลับ ไม่ยอมล้มตัวลงนอนติดต่อกันหลายวัน จนมีอาการเจ็บและอักเสบบริเวณขาหน้าทั้ง 2 ข้าง รวมถึงขาหลังขวาที่มีการก้าวเดินผิดปกติ จนเริ่มมีอาการทรุดลง ได้มีการระดมทีมสัตวแพทย์จากหลายหน่วยงาน ทำการรักษาและอนุบาล น้องตุลา” อย่างใกล้ชิด  แต่ ตุลามีอาการเจ็บขาหลังขวา เดินกะเผลก เอกซเรย์พบกระดูกต้นขามีรอยร้าว จึงให้การรักษาต่อเนื่อง ด้วยการให้ยาลดปวด เสริมแคลเซียม พลายตุลาเดินช้าลงและกินน้ำน้อยลง แต่พลายตุลาพยุงตัวลุกเดินไม่ได้ ต้องใช้เครนยกตัวและช่วยพยุง จนทำให้เกิดแผลที่ปาก

กระทั่งเมื่อวันที่ 13 ส.ค 66 เวลาตี 4  ตุลาพยายามลุกยืน แต่ยืนไม่ขึ้น แล้วล้มตัวนอนเป็นเวลานา ทำให้อักเสบ มีการบวมต้นขา เวลา18.00 น. ตุลาไม่ยอมใช้ขาเดิน นิ่ง ไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็น หายใจช้าลง ลิ้นซีด มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์ทำ CPR ช่วยปั๊มหัวใจ แต่ไม่สามารถช่วยให้หัวใจของพลายตุลากลับมาเต้นได้ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

วันนี้ (14 ส.ค.66) นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมกับทีมสัตวแพทย์ทำการชันสูตรเพื่อหาสาเหตุและเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางปฏิบัติการเพื่อยืนยันถึงสาเหตุการเสียชีวิต ปรากฏว่า สาเหตุหลักในการเสียชีวิต เกิดจากสภาวะกระดูกบางทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณขาหน้า (ด้านบน) ทั้งสองข้าง พบการสลายของกระดูก ทำให้กระดูกแตกหักละเอียดผิดรูป รอยแตกมีโพรงเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการไม่ล้มตัวลงนอน ไม่เล่นกับพี่เลี้ยงตามปกติ อวัยวะภายในร่างกายพบว่า ลำไส้มีความแดงผิดปกติ  และสัตวแพทย์ได้ทำการเก็บตัวอย่างอวัยวะทั้งหมด รวมถึงกระดูก ส่งทางห้องปฏิบัติการตรวจอย่างละเอียด

ในวันสุดท้าย “ตุลา” ยังทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่ ทำให้ทีมสัตวแพทย พี่เลี้ยง ได้เรียนรู้ได้ รู้จักวิธีการดูแลลูกช้าง ซึ่งในอนาคตอาจพบเคสลักษณะนี้ได้อีก “ตุลา” เป็นเคสแรก หลังจากนี้จะชันสูตรอย่างละเอียด เก็บชิ้นเนื้ออวัยวะภายใน เก็บข้อมูลให้มากที่สุด สำหรับลูกช้างตัวอื่นที่อาจประสบเหตุเดียวกับ “ตุลา”

ช้างป่า “ตุลา” เป็นลูกช้างป่าพลัดหลง ที่ทหารพรานนาวิกโยธิน พบที่บริเวณฐานฯ ทุ่งกร่าง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ขณะนั้นมีอายุประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เจ้าหน้าที่ร่วมกันตั้งชื่อลูกช้างป่าตัวนี้ว่า “เจ้าตุลา” ตามเดือนที่พบเจอ ขณะที่พบลูกช้างมีอาการอ่อนแอ สัตวแพทย์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และได้รับการสนับสนุนน้ำนมช้างจากแม่ช้าง 4 เชือกที่เพิ่งตกลูก จากสวนนงนุชพัทยามาให้ลูกช้างกิน ตลอดจนการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมสัตวแพทย์ และทีมพี่เลี้ยง จนทำให้ตุลาเริ่มมีสุขภาพแข็งแรง มีสุขภาพดี และเป็นช้างอารมณ์ดีขึ้น ขี้เล่น จนเป็นขวัญใจคนรักสัตว์ ทีมสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ และพี่เลี้ยง ดูแล "ตุลา" อย่างใกล้ชิดมาตลอด นานถึง 10 เดือนและได้จากไปในที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง